Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การกำจัดคลอริเนเตดไฮโดรคาร์บอนจากน้ำเสียห้องปฏิบัติการเคมี โดยใช้ผงเหล็ก
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Dechlorination of chlorinated hydrocarbons from laboratory wastewater by zero-valent iron
Year (A.D.)
1999
Document Type
Thesis
First Advisor
อมร เพชรสม
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม
DOI
10.58837/CHULA.THE.1999.1236
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาเงื่อนไขที่เหมาะสมในการกำจัดคลอริเนเตดไฮโดรคาร์บอนจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ผงเหล็ก เพื่อนำไปใช้กำจัดคลอริเนเตดไฮโดรคาร์บอนจากน้ำเสียห้องปฏิบัติการเคมีโดยศึกษาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ สภาวะพีเอช ระยะเวลาสัมผัสน้ำเสีย และขนาดอนุภาคผงเหล็กทำการทดลองแบบทีละเท (batch) โดยเติมผงเหล็ก 1 กรัม และคลอริเนเตดไฮโดรคาร์บอน 10 มิลลิลิตร ลงในขวดขนาด 20 มิลลิลิตร วิเคราะห์ความเข้มข้นของคลอริเนเตดไฮโดรคาร์บอนโดยใช้แก๊สโครมาโทกราฟี และเทคนิคเฮดสเปส พบว่าเงื่อนไขที่เหมาะสมในการกำจัดสารละลายมาตรฐาน เมธิลลีนคลอไรด์, คลอโรฟอร์ม, คาร์บอนเตตระคลอไรด์ และคลอโรเบนซิน ในน้ำเสียสังเคราะห์ คือ พีเอช 4 ระยะเวลาสัมผัสน้ำเสีย 15 วัน และใช้อนุภาคผงเหล็กขนาด 10 ไมครอน ประสิทธิภาพการกำจัดคลอริเนเตดไฮโดรคาร์บอนเพิ่มขึ้น เมื่อปรับสภาวะพีเอชของน้ำเสียลดลง อนุภาคผงเหล็กขนาดเล็กลง และระยะเวลาสัมผัสน้ำเสียเพิ่มขึ้น โดยประสิทธิภาพการกำจัดสารละลายมาตรฐาน เมธิลลีนคลอไรด์, คลอโรฟอร์ม, คาร์บอนเตตระคลอไรด์ และคลอโรเบนซินในน้ำเสียสังเคราะห์สูงที่สุดเท่ากับ 63.20%, 88.00%, 100% และ 42.58% ตามลำดับ ส่วนการกำจัดเมธิลลีนคลอไรด์, คลอโรฟอร์ม และคาร์บอนเตตระคลอไรด์ ในน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการเคมี โดยปรับสภาวะให้มีค่าพีเอชเท่ากับ 4 ระยะเวลาสัมผัสน้ำเสีย 15 วัน และใช้อนุภาคผงเหล็กขนาด 10 ไมครอน พบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดสูงที่สุดเท่ากับ 42.58%, 75.06% และ 100% ตามลำดับ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The optimum condition for removal of chlorinated hydrocarbons from laboratory wastewater by zero-valent iron were studied. The effects of various pH conditions, contact times and iron particle sizes. All chlorinated hydrocarbons were tested by batch procedure in which 1 g of iron and 10 mL of chlorinated hydrocarbons were added to 20 mL serum vials. Chlorinated hydrocarbons concentrations were monitored at certain time intervals by gas chromatography (GC) analysis of the headspace. It was found that methylene chloride, chloroform, carbon tetrachloride and chlorobenzene in artificial wastewater could be removed by zero-valent iron at pH 4, in 15 days and using 10 mum iron particle. The efficiency for removal of chlorinated hydrocarbons increased when pH and iron particle size decreased while contact time was increased. The efficiency for removal of methylene chloride, chloroform, carbon tetrachloride and chlorobenzene in artificial wastewater are 63.20%, 88.00%, 100% and 42.58% respectively. While efficiencyfor removal of methylene chloride, chloroform and carbon tetrachloride in laboratory wastewater are 42.58%, 75.06% and 100% respectively
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กิตติกนกรัตน์, แก้วตา, "การกำจัดคลอริเนเตดไฮโดรคาร์บอนจากน้ำเสียห้องปฏิบัติการเคมี โดยใช้ผงเหล็ก" (1999). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 20984.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/20984