Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของป่าเต็งรังตามระดับความสูง บริเวณสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Change of deciduous dipterocarp forest structure along the altitudinal gradient Queen Sirikit Botanic Garden, Chiangmai province

Year (A.D.)

1999

Document Type

Thesis

First Advisor

พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์

Second Advisor

วีระชัย ณ นคร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.1999.1234

Abstract

ารเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของป่าเต็งรังตามระดับความสูงบริเวณสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาโดยวางแปลงตัวอย่างขนาด 100 x 100 เมตร2 ที่ระดับความสูง 700, 800, 900 และ 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ระดับความสูงละ 1 แปลง จำแนกชนิดไม้ยืนต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอก (DBH) ตั้งแต่ 4.5 เซนติเมตรขึ้นไป มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้เท่ากับ 46, 52, 61 และ 63 ชนิดตามลำดับ มีดรรชนีความหลากชนิดเท่ากับ 3.06, 2.74, 3.07 และ 2.95 ตามลำดับ สังคมพืชที่ระดับความสูง 700-1,000 เมตร เป็นสังคมป่าเต็งรังระดับสูง ที่ระดับความสูง 700 เมตร ไม้เด่นของสังคมคือ พลวง (Dipterocarpus tuberculatus), เต็ง (Shorea obtusa), ตูมกาขาว (Strychnos nux-blanda) และเหียง (Dipterocarpus obtusifolius) ที่ระดับความสูง 800 เมตร ไม้เด่นคือ พลวง, เต็ง, ก่อแพะขน (Quercus kerrii) และเหมือดโลด (Aporosa villosa) โดยมีพลวงเป็นไม้เด่นยึดครองพื้นที่อย่างเด่นชัด ที่ระดับความสูง 900เมตร ไม้เด่นคือ เต็ง, พลวง, เหียง, และก่อแพะขน โดยมีสัดส่วนระหว่างชนิดพันธุ์ไม้เด่นแต่ละชนิดในปริมาณใกล้เคียงกันที่ระดับความสุข 1,000 เมตร ไม้เด่น คือ พลวง, ก่อแพะขน, เต็ง, และรัง (Shorea siamensis) ตามลำดับ โดยมีพลวงเป็นไม้เด่นยึดครองพื้นที่อย่างเด่นชัดและพบไม้วงศ์ก่อ (Fagaceae) ขึ้นปะปนอยู่ด้วย สังคมพืชที่มีความคล้ายคลึงกันมากที่สุดคือ สังคมพืชที่ระดับความสูง 800 เมตร และ 900 เมตร โดยมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงเท่ากับ 71.19% และสังคมพืชที่มีความแตกต่างกันมากที่สุดคือ สังคมพืชที่ระดับ 700 และ 1,000 เมตร โดยมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงเท่ากับ 53.10% พันธุ์ไม้ทั้งหมดและไม้เด่นอันดับที่ 1-3 ของแต่ละสังคมที่ระดับความสูง 700-1,000 เมตร มีการกระจายแบบกลุ่ม (contagious distribution) ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมีความสัมพันธ์ในทางลบกับปริมาณแคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ของดินที่ระดับความลึก 15, 30 และ 50 เซนติเมตร, ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร, อินทรียวัตถุที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร, ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ที่ระดับความลึก 15 และ 50 เซนติเมตร, ความเป็นกรด-ด่างของดินที่ระดับความลึก 15 และ 30 เซนติเมตร และปริมาณอนุภาคทรายแป้งที่ระดับความลึก 15 และ 30 เซนติเมตร มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับปริมาณอนุภาคดินเหนียวที่ระดับความลึก 15 และ 30 เซนติเมตร, ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตรและปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ที่ระดับความลึก 15 และ 30 เซนติเมตร ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับจำนวนชนิดพันธุ์ไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับเปอร์เซนต์ของพื้นที่หน้าตัดต่อพื้นที่แปลงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01)

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Change in the structure of deciduous dipterocarp forest was studied along an altitudinal gradient at Queen Sirikit Botanic Garden, Chiang Mai province. Each of permanent plot of 100 x 100 m2 (1 ha) was established at 700, 800, 900 and 1000 m above mean sea level (MSL). Trees with DBH more than 4.5 cm were identified. There were 46, 52, 61 and 63 species inthe plot of 700, 800, 900 and 1000 m MSL, respectively. The species diversity indices were 3.06, 2.74, 3.07 and 2.95 respectively. Plant community at 700-1000 m MSL was deciduous dipterocarp forest. The dominant tree species in the plot of 700 m MSL were Phluang (Dipterocarpus tuberculatus), Teng (Shorea obtusa), Tumkakhao (Strychonos nux-blanda) and Hiang (D.obtusifolius). Those of 800 m MSL were Phluang, Teng, Ko phae kon (Quercus kerrii) and Mueat lot (Aporosa villosa). In the 900 m MSL plot, it was dominated by Teng, Phluang, Hiang and Ko phae kon. For the 1,000 m MSL plot, the dominant tree specise were Phluang, Ko phae kon, Teng and Rang (S.siamensis). There was also a mixture of Fagaceae trees in this plot. Plant communities at the 800 and 900 m MSL were the most similar, similarity index was 71.19%. In contrast, plant communities of the plots at 700 and 1000 m MSL were obviously different, similarity index was 53.10%. All species in the plot from 700-1000 m MSL were contagious distribution. Altitudinal gradient had negative relationships with exchangeable Ca at soil depth of 15, 30 and 50 cm, total N at 15 cm, organic matter at 15 cm, available P at 15 and 50 cm, pH at 15 and 30 cm and silt at 15 and 30 cm but had positive relationships with clay at 15 and 30 cm, exchangeable K at 15 cm and exchangeable Na at 15 and 30 cm. Altitudinal gradient above MSL were positively correlated with the number of plant species (p<0.05) and percentage of basal area per plot (p<0.01).

Share

COinS