Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การทำคานามัยซินจาก Streptomyces kanamyceticus UUNNK1 ให้บริสุทธิ์
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Purification of kanamycin from Streptomyces kanamyceticus UUNNK1
Year (A.D.)
1999
Document Type
Thesis
First Advisor
สุรีนา ชวนิชย์
Second Advisor
อมร เพชรสม
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.1999.1209
Abstract
จากการหาวิธีที่เหมาะสมในการทำคานามัยซินที่ผลิตจาก Streptomyces kanamyceticus UUNNK1 ให้บริสุทธิ์ โดยเปรียบเทียบจำนวนครั้งที่ผ่านส่วนน้ำใสที่ได้จากน้ำหมักอาหารเลี้ยงเชื้อลงคอลัมน์ที่มีเรซินแอมเบอร์ไลต์ IRC-50 ในรูปโซเดียม 1 2 และ 3 ครั้ง หลังจากนั้นกำจัดสีด้วยผงถ่านกัมมันต์ และเก็บในรูปตะกอนซัลเฟต พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ความบริสุทธิ์ของคานามัยซินเท่ากับ 63.0 79.2 และ 86.4 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ และปริมาณซองคานามัยซินที่ได้เท่ากัน 51.5 46.8 และ 32.7 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณคานามัยซินในส่วนน้ำใสตั้งต้นคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และภาวะที่เหมาะสมต่อการกำจัดสีของคานามัยซินด้วยผงถ่านกัมมันต์ คืออยู่ในรูปของคานามัยซินซัลเฟต ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาที และปริมาณผงถ่านที่ใช้คือ 0.1 -0.2 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร จากการทำโครมาโตกราฟแบบผิวบาง โดยใช้ส่วนบนของตัวทำละลายที่มีส่วนผสมของคลอโรฟอร์ม : เมธานอล : แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ ด้วยอัตราส่วน 2:1:1 นำมาตรวจสอบแถบด้วยสารละลายนินไฮดริน สามารถแยกสารออกได้แถบเดียว มีลักษณะเป็นหางยาวได้ค่า R, เท่ากับ 0.56 และสารมาตรฐานคานามัยซินเอ ซัลเฟต มีค่า R, เท่ากับ 0.62 จากการวิเคราะห์โครงสร้างของสารปฏิชีวนะ ด้วยวิธีอินฟราเรด สเปกโตรสโกปี และ นิวเคลียร์ แมกเนติค เรโซแนนซ์ พบว่าสารปฏิชีวนะชนิดนี้เป็นอนุพันธ์หนึ่งของคานามัยซิน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Optimal conditions for purification of kanamycin produced by S treptomyces kanamyceticus UUNNK1, were investigated. The filtrated broth passing through the sodium form of Amberiite IRC-50 column for 1, 2 and 3 times. Then, kanamycin was decolorized by activated charcoal and precipitated in sulfate form. The percent of purity was 63.0, 79.2 and 86.4 % 1 respectively, the amounts of antibiotic obtained were 51.5, 46.8 and 32.7 %, respectively in compared with the amounts of 100 % original kanamycin. It was found that the optimal conditions for decolorization of kanamycin in sulfate form to remove impurity were: 0.1-0.2 gram of activated charcoal added to the 100 ml. extract, stirring at 30 °c for 30 minute. Thin- Layer Chromatography of antibiotic was also investigated by using solvent mixture of chloroform: methanol: ammonium hydroxide in 2: 1: 1 ratio and bands were detected by ninhydrin solution. The antibiotic was separated into only one long- tail band with R, value 0.56 while the R, value of kanamycin A sulfate was 0.62. The structure of antibiotic was analyzed by Infrared Spectroscopy and Nuclear Magnetic Resonance. It was found that the antibiotic was identified as derivative of kanamycin.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
แก้วกล้า, อรอุมา, "การทำคานามัยซินจาก Streptomyces kanamyceticus UUNNK1 ให้บริสุทธิ์" (1999). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 20923.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/20923