Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Factors influencing somking behavior of youth in Bangkok

Year (A.D.)

2006

Document Type

Thesis

First Advisor

อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา

Second Advisor

สุริยา วีรวงศ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

พัฒนามนุษย์และสังคม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2006.2097

Abstract

ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2548 ถึง เดือนมีนาคม 2549 กับกลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 11-24 ปี ในแต่ละประเภทสถานศึกษาอันได้แก่ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 630 คน การศึกษาครั้งนี้นำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางไขว้ และทดสอบด้วยค่าไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตัวแปรตามในการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีพฤติกรรมการสูบหรือเคยสูบมาก่อนและกลุ่มที่ไม่เคยมีพฤติกรรมการสูบเลย ผลการศึกษาในเรื่องพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน พบว่าเยาวชนในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือเคยสูบบุหรี่มาก่อนน้อยกว่าเยาชนที่ไม่ได้มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ (29.8% เปรียบเทียบกับ 70.2%) ทั้งนี้ผลการศึกษายังพบว่าเยาชนที่สูบบุหรี่มีสัดส่วนของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำสูงสุด (11.3%) สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา การเห็นคุณค่าในตนเอง การใช้เวลาว่างในสถานที่เสี่ยงต่อการสูบบุหรี่ ความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่ รายได้ครอบครัว บุคคลที่เยาวชนพักอาศัย ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลที่สูบบุหรี่ การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรณรงค์เรื่องโทษและพิษภัยบุหรี่ มีความสัมพันธ์กันกับการสูบบุหรี่ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ ไม่มีความสัมพันธ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในด้านปัจจัยที่เกี่ยวกับระดับการศึกษาของมารดา และรายได้ของเยาวชนพบว่า มีความสัมพันธ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และในการออกกำลังกายของเยาวชนนั้นพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

To study the correlaions between internal and external attributes and smoking behavior of youth, and to gather youth's on smoking behavior. The subjects of the study were 11-24 years-old student in four educational levels in Bangkok-primary, secondary, vocational and higher education. Data collection was carried out between December 2005 to March 2006. The sample size was 630 and the data analysis employed cross-tabulations and chi-square tests at the 0.05 statistically significant. The dependent variables in the study were divided into two groups: smoking or used-to-smoke youth and non-smoking youth. The general result of the study was that the smoking behavior of youth in Bangkok less than non-smoking youth (29.8% to compare 70.2%) and addition it appears smoking or used-to-smoke youth are highest to smoking 11.3%. The stated hypothesizes with each following variables were accepted and found that at the 0.05 statistically significant. They were gender, age, education, self esteem, leisure time spent in smoking-friendly place, knowledge on smoking danger, family income, residence of person, close-relation with smoking person, receiving information about anti-smoke advacacy. To be with hypothesize on opinion on smoking was not accepted but accepted at the 0.05 statistically significant. As for two of mother and youth income were accepted but were not accepted at the 0.05 statistically significant. In addition on exercise of youth was rejected but statistically significant.

Share

COinS