Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The association between single nucleotide polymorphism within vascular endothelial growth factor gene with disease susceptibility and severity of psoriasis in Thai population

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ความสัมพันธ์ของ Single mucleotide polymorphism ในยีน vascular endothelial growth factor กับการเกิดโรคและความรุนแรงของสะเก็ดเงินในประชากรไทย

Year (A.D.)

2006

Document Type

Thesis

First Advisor

Jongkonnee Wongpiyabovorn

Second Advisor

Nattiy Hirankarn

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Medical Microbiology

DOI

10.58837/CHULA.THE.2006.2243

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

โรคเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ลักษณะของผื่นคือ เป็นผื่นนูนหนาสีแดงขอบเขตชัดเจนปกคลุมด้วยสะเก็ดเงิน จัดเป็นโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเองชนิด T-cell โดยไชโตไคน์มีบทบาทสำคัญในการดำเนินโรค พบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพของโรค มีรานงานการศึกษาทางพันธุกรรมจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ทำโดยวิธี linkage analysis และ association study รายงานยืนที่เกี่ยวข้องกับโรคสะเก็ตเงินมากมาย หลายรายงานสรุปว่ายืน VEGF เป็นยืนที่มีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซม 6p21 มีบทบาทสำคัญในโรคที่มีพื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างหลอดเลือดใหม่ เช่น ในมะเร็งชนิดต่าง ๆ รวมทั้งโรคสะเก็ตเงินด้วย งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของยืน VEGF และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสะเก็ตเงิน ใช้วิธี PCR-SSP และ PCR-RFLP โดยศึกษาแบบ population-based case-control จากผู้ป่วยโรคสะเก็ตเงินจำนวน 154 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยที่เกิดโรคก่อนอายุ 40 ปี (early-onset) จำนวน 102 คน และผู้ป่วยที่เกิดโรคเมื่ออายุ 40 ปี หรือมากกว่า (late-onset) จำนวน 52 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มคนปกติจำนวน 234 คน ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบของ -460TT หรือ -460TC มีความสำพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสะเก็ตเงินในช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี อย่างมีนับสำคัญทางสถิติ (p=0.0450, OR=4.67, 95%Cl=1.03-29.52) นอกจากนี้เป็นที่น่าสนใจว่า เมื่อวิเคราะห์รูปแบบ haplotype ของยืน VEGF พบว่า CTG haplotype มีความสัมพันธ์กับความเสื่องต่อการเกิดโรคสะเก็ตเงิน การเกิดโรคในช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี และความรุนแรงของโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.0307, OR=1.40, 95%Cl=1.03-1.91, p=0.0098, OR=1.58, 95%Cl=1.11-2.24, p=0.0475, OR=1.70, 95%Cl=1.01-2.87) ตามลำดับ นอกจากนั้น CTG/CTG หรือ CTG/other haplotype ยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสะเก็ตเงิน และการเกิดโรคในช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี อย่างนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน (p=0.0078, OR=1.81, 95%Cl=1.16-2.84, OR=2.20, 95%Ci=1.29-3.74)ตามลำดับ นากจากนี้ไม่พบความแตกต่างของระดับ VEGF ใน plasma ของผู้ป่วยระหว่างกลุ่ม haplotypes ที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษานี้ สรุปได้ว่า CTG haplotype และ –460C/T polymorphism สามารถใช้เป็นเครื่องหมายของยืนในการกำหนดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสะเก็ตเงินในช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปีในประชากรไทย

Share

COinS