Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ตัวแบบจำลองความต้องการบริการโลจิสติกส์
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Model of logistics service requirement
Year (A.D.)
2005
Document Type
Thesis
First Advisor
กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การจัดการด้านโลจิสติกส์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2005.1934
Abstract
การวัดความก้าวหน้าของการบริการโลจิสติกส์นั้นไม่สามารถวัดแค่จำนวนการใช้บริการโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้นระดับความสำคัญของกิจกรรมที่ผู้ให้บริการสามารถดำเนินงานแทนผู้ใช้บริการก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน ตัวแบบจำลองความต้องการการบริการโลจิสติกส์ จะทำให้การวัดระดับการบริการโลจิสติกส์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งตัวแบบจำลองในการศึกษานี้ได้แบ่งความต้องการบริการโลจิสติกส์เป็น 4 ระดับคือ การบริการโลจิสติกส์แบบพื้นฐาน การบริการโลจิสติกส์แบบเพิ่มคุณค่า การบริการโลจิสติกส์แบบผู้นำ และการบริการโลจิสติกส์แบบก้าวหน้าและจากการทบทวนวรรณกรรมที่ศึกษาเกี่ยวกับการบริการโลจิสติกส์พบว่ามีปัจจัยหลายชนิดที่น่าจะมีผลในการผลักดันความต้องการการบริการโลจิสติกส์จากระดับหนึ่งให้เพิ่มขึ้นเป็นอีกระดับหนึ่งได้ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า การลดต้นทุน ระบบสารสนเทศ และบุคลากร เป็นปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกระดับของการบริการ การบริการโลจิสติกส์ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับการบริการแบบเพิ่มคุณค่า คือ การบริการที่ผู้ให้บริการมีส่วนในการแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้บริการมากขึ้นและมีคุณค่ากับผู้ใช้บริการและเสนอการบริการที่ขยายมากขึ้นและการบริการมีลักษณะเป็นการบริการที่มีช่วงเวลาที่นานขึ้น แต่ก็มีโอกาสที่จะเพิ่มระดับเป็นการบริการโลจิสติกส์แบบผู้นำ คือการบริการที่ผู้ให้บริการทำการบริการบริหารกิจกรรมโลจิสติกส์ของผู้ใช้บริการแบบบูรณาการคือมีการวางแผน การวางระบบ และเป็นผู้บริการกำกับและมีความสัมพันธ์ในลักษณะหุ้นส่วนระยะยาว ส่วนการบริการในระดับพื้นฐานก็ยังมีอยู่แต่ไม่มากเท่ากับบริการในสองระดับที่กล่าวมา ส่วนการบริการในระดับก้าวหน้าก็ยังมีไม่มากเช่นกัน อย่างไรก็ดีผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทยบางส่วนสามารถให้การบริการได้ทั้ง 4 ระดับ และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ควรรอบคอบกับข้อมูลในการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ใช้บริการเนื่องจากผู้ใช้บริการต้องการให้ข้อมูลการใช้บริการโลจิสติกส์เป็นข้อมูลภายในมากกว่าเป็นข้อมูลสาธารณะ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Progression of logistics service can not be measured by increasing of users, complicated level of services should be the other perspective of measurement. So model of logistics service requirement will support the measurement. The model identified level of logistics services to be 4 levels, are basic logistics service, value added logistics service, lead logistics service and advance logistics service. Refer literature review there are many factors may drive the level of service to be higher level, and in this study found that cost, information system and human resource are factors to decide to choose level of logistics service. Logistics service industrial in Thailand is continually and progressively at Value Added service level, which outsource company pay their role more important to their customer and has a potential to be higher in Lead logistics service level which integrate and manage all logistics activities instead of their customers such as logistics planning, forecasting and increasing the relation to be business partners. For the basic logistics service level and advance logistics level are also available in Thailand but only few of companies are using these two level. And outsource company or third party logistics companies in Thailand have perspective potential to support for all levels which identified in model of logistics service requirement.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เตชะธนนันทวงศ์, เศรษฐกาณฑ์, "ตัวแบบจำลองความต้องการบริการโลจิสติกส์" (2005). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 20604.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/20604