Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบำบัดน้ำผิวดินให้เป็นน้ำดื่มด้วยเมมเบรนพอลิซัลโฟน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Surface water treament for drinking water by polysulfone membrane

Year (A.D.)

2004

Document Type

Thesis

First Advisor

ขันทอง สุนทราภา

Second Advisor

ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2004.1951

Abstract

งานวิจัยนี้ได้ทำการเตรียมเมมเบรนพอลิซัลโฟน และเมมเบรนพอลิซัลโฟนที่มีการปรับปรุง สมบัติ เพื่อประยุกต์ใช้ในการบำบัดนำผิวดินให้เป็นน้ำดื่ม เมมเบรนพอลิซัลโฟนที่เตรียมได้มีโครงสร้าง แบบไม่สมมาตรตามต้องการ โดยเมมเบรนที่ระเหยตัวทำละลายบางส่วนภายในตู้อบสุญญากาศมี โครงสร้างรูพรุนแบบทรงกระบอก ในขณะที่การระเหยตัวทำละลายภายในตู้อบลมร้อนทำให้เมมเบรน มีโครงสร้างรูพรุนเป็นได้ทั้งแบบฟองนำหรือแบบทรงกระบอก การเพิ่มเวลาระเหยตัวทำละลายจาก 3 ไปเป็น 60 นาที หรือการลดอุณหภูมิในอ่างน้ำจาก 20 ไปเป็น 4 องศาเซลเซียส ส่งผลให้เมมเบรน มีโครงสร้างแน่นขึ้น การเติมสารลดแรงตึงผิวประจุบวกหรือประจุลบทำให้โครงสร้างของเมมเบรน เปลี่ยนจากการมีรูพรุนแบบทรงกระบอกเป็นรูพรุนแบบคล้ายฟองน้ำ เมมเบรนที่เหมาะสมต่อการบำบัด นำผิวดินให้เป็นน้ำดื่มคือ เมมเบรนพอลิซัลโฟน ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ระเหยตัวทำละลาย บางส่วนภายในตู้อบลมร้อน เป็นเวลา 15-60 นาที และทำให้พอลิเมอร์แข็งตัวในอ่างน้ำอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส โดยเมมเบรนพอลิซัลโฟนมีค่าฟลักซ์ในการกรองน้ำผิวดินเท่ากับ 2.67±0.48 ลิตร/ตารางเมตร/นาที สามารถกักกันโคลิฟอร์มแบคทีเรียได้ร้อยละ 100 และสามารถกักกักซีโอดีได้ ร้อยละ 83.7±5.91 เหลือความเข้มข้น 7.6±2.7 มิลลิกรัม/ลิตร

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Polysulfone membranes and modified polysulfone were prepared and characterized for surface water purification as drinking water. The polysulfone membranes with asymmetric structure could be prepared successfully. By partial evaporation in vacuum oven, the finger like structure was obtained. By partial evaporation in hot air oven, either finger like structure or sponge like structure was obtained. The increase of evaporation time from 3 to 60 min or the decrease of coagulation temperature from 20 to 4 °c provided denser membrane. The addition of cationic or anionic surfactants changed the membrane morphology from finger like to sponge like structure. The appropriate membranes were 10% polysulfone membrane, partial evaporation in hot air oven for 15-60 min and coagulation at 20 °c. The flux of these membranes were 2.67±0.48 l/m2/min and the rejection of coliform and COD are 100% and 83.72±5.91%, respectively.

Share

COinS