Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน: วิถีชีวิตในสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงในวรรณกรรมของอุทิศ เหมะมูล

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

INDIVIDUALS, FAMILIES AND COMMUNITIES: WAYS OF LIFE IN CHANGING THAI SOCIETY IN UTHIS HAEMAMOOL’S LITERARY WORKS

Year (A.D.)

2015

Document Type

Thesis

First Advisor

สุรเดช โชติอุดมพันธ์

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วรรณคดีเปรียบเทียบ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2015.1820

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เปลี่ยนไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยจากสังคมชนบทสู่สังคมเมืองในตัวบทวรรณกรรมของอุทิศ เหมะมูล โดยใช้แนวคิดเรื่องนโยบายการพัฒนา ระบบทุนนิยมและภาวะบริโภคนิยม ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทวรรณกรรมของอุทิศ เผยให้เห็นการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมระหว่างพื้นที่ท้องถิ่นกับเมืองก่อให้เกิดการละถิ่นฐานเพื่ออพยพเข้าสู่เมือง ระบบทุนนิยมหล่อหลอมมโนทัศน์เรื่องการสะสมทุนและการสร้างอำนาจต่อรองทางสังคม ทั้งยังสร้างพันธกิจให้ผู้เป็นพ่อดูแลครอบครัวและผลิตสมาชิกออกสู่สังคม นำมาซึ่งการใช้อำนาจปิตาธิปไตย ระบบทุนนิยมยังเปลี่ยนแปลงจารีตที่กำหนดเพศสถานะและเพศวิถี สถานะของเพศหญิงที่ต้องยึดติดอยู่กับพื้นที่ส่วนตัว มีบทบาทเป็นผู้ทำงานในบ้านมีโอกาสทำงานนอกบ้านทัดเทียมกับเพศชาย ส่วนเพศวิถีของชายและหญิงยังถูกจารีตทางสังคมควบคุมให้เป็นความสัมพันธ์แบบชายหญิง ในขณะเดียวกันก็กดทับความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน นอกจากนั้นระบบทุนนิยมทำให้พื้นที่เมืองกลายเป็นศูนย์รวมความเจริญทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีพื้นที่ซ่อนเร้นซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นที่ชายขอบ ระบบทุนนิยมยังหล่อหลอมมโนทัศน์และวิถีชีวิตแบบปัจเจกบุคคล ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้การบริโภควัตถุเป็นไปอย่างเสรี ระบบทุนนิยมยังก่อให้เกิดการใช้อำนาจปิตาธิปไตยในครอบครัว เพราะพันธกิจของบทบาทพ่อที่ได้รับอิทธิพลจากระบบทุนนิยม แต่ก็ถูกลดทอนลงทุกขณะ อีกทั้งอำนาจปิตาธิปไตยซึ่งเป็นตัวกำหนดเพศสถานะและเพศวิถีให้เป็นชายกับหญิงยังถูกท้าทายและตอบโต้ด้วยการมีเพศวิถีที่นอกเหนือจากบรรทัดฐานของสังคมซึ่งก็คือเพศวิถีระหว่างเพศเดียวกัน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This thesis aims to study changes in human life due to the transformation of Thailand from an agrarian community to an urban society as appeared in the literary works of Uthis Haemamool through the concepts of development policy, capitalism and consumerism. The study has found that his works elicit unequal development between rural and urban areas, leading to migration. Capitalism has instigated people to hoard their capital in order to retain power in social negotiation. This is also related to the generation of the father figure’s role, by way of patriarchal forces. Capitalism has also changed the traditions that regulate gender and sexuality. Female conditions, which were hinged on the private domain as they were expected to attend to domestic works, are increasingly affected as a greater number of women now work outside along with their male counterparts. Male and female sexuality, however, is still deeply regulated by heteronormative norms, which repress the formation of same-sex relationships. In addition, capitalism has also turned Thailand’s urban areas into a center of economic prosperity, whilst retaining hidden corners characterized as marginalized. In this light, capitalism has shaped the urbanite’s individualist mindset and lifestyle. Capitalism has also generated patriarchal forces in the family, as it shapes the role of the father figure, even though this role is increasingly limited. These patriarchal forces that have long regulated heteronormative norms in gender and sexuality are also increasingly challenged and sexuality outside these norms, especially same-sex relationships, is more commonplace.

Share

COinS