Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
แรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน ภายใต้ปฏิกิริยาการแข็งตัวทางเคมี
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Shear bond strength of resin cements to human dentin under self-curing mode.
Year (A.D.)
2016
Document Type
Thesis
First Advisor
ชัยวัฒน์ มณีนุษย์
Faculty/College
Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ทันตกรรมหัตถการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2016.376
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแข็งแรงของการยึดติดของเรซินซีเมนต์ที่แข็งตัวด้วยปฏิกิริยาสองชนิด ภายใต้การแข็งตัวด้วยปฏิกิริยาทางเคมี โดยเปรียบเทียบกับเรซินซีเมนต์ที่แข็งตัวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีวัสดุและวิธีการ ทดสอบค่าแรงยึดเฉือนของเรซินซีเมนต์ 3 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นเรซินซีเมนต์ที่แข็งตัวด้วยปฏิกิริยาทางเคมี 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Super Bond C&B® (SB) และ C&BTMCEMENT ร่วมกับสารยึดติด ALL-BOND 3 (CB) และเรซินซีเมนต์ที่แข็งตัวด้วยปฏิกิริยาสองระบบ 1 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ NX3 Nexus® ร่วมกับสารยึดติด OptiBondTM Solo Plus (NX) ตามข้อกำหนดของไอเอสโอ 11405 โดยทำการยึดเรซินซีเมนต์กับเนื้อฟันตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตด้วยแม่แบบทรงกระบอกที่ทำจากโลหะไร้สนิม และปล่อยให้เรซินซีเมนต์แข็งตัวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีเท่านั้น จากนั้นทำการทดสอบค่าแรงยึดเฉือนที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมงผลการศึกษา กลุ่ม SB มีค่าแรงยึดเฉือนมากที่สุด ทั้งที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง โดยมีค่า 19.22 ± 2.84 เมกะปาสคาล และ 34.04 ± 5.17 เมกะปาสคาล ตามลำดับ และกลุ่มที่มีค่าแรงยึดเฉือนน้อยที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือกลุ่ม CB ทั้งที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง (p < 0.05) ซึ่งมีค่า 5.15 ± 1.12 เมกะปาสคาล และ 10.49 ± 2.81 เมกะปาสคาล ตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าแรงยึดเฉือนที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมงของเรซินซีเมนต์ผลิตภัณฑ์เดียวกัน พบว่าที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง เรซินซีเมนต์มีค่าแรงยึดเฉือนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกกลุ่ม สรุปผลการศึกษา เรซินซีเมนต์แต่ละผลิตภัณฑ์จะมีค่าแรงยึดเฉือนต่อเนื้อฟันที่แตกต่างกัน โดยที่อะคริลิกเรซินซีเมนต์ที่แข็งตัวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีจะมีค่าแรงยึดเฉือนมากที่สุด ซึ่งเป็นเรซินซีเมนต์ที่เหมาะในการยึดวัสดุบูรณะที่แสงไม่สามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้เมื่อระยะเวลาผ่านไป เรซินซีเมนต์ทุกผลิตภัณฑ์จะมีค่าแรงยึดเฉือนเพิ่มมากขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Objective: To assess the bond strength of dual-cured resin cement to human dentin under chemical curing mode and compare it with chemical-cured resin cement.Methods: The shear bond strength of three resin cements including two chemical-cured resin cements (Super Bond C&B®, Sun Medical Co.,Ltd : SB and C&BTMCEMENT, Bisco : CB), and one dual-cured resin cement (NX3 Nexus®, Kerr : NX) were measured using a ISO 11405 protocol. All resin cements were used according to the manufacturers’ instructions to bonded with the dentin of premolar tooth by using a stainless steel cylinder mold and polymerized under chemical curing mode. Shear bond strength was measured after bonding for 1 hr and 24 hrs in each resin cement group.Results: Super Bond C&B® exhibited highest bond strength both 1 hr and 24 hrs groups (19.22 ± 2.84 MPa, 34.04 ± 5.17 MPa) and the lowest shear bond strength was C&BTM CEMENT both of 1 hr and 24 hrs (5.15 ± 1.12 MPa, 10.49 ± 2.81 MPa) (p < 0.05). All resin cements, the bond strength of 24 hrs group were significantly higher than 1 hr group.Conclusions: Resin cements with different chemical formulations yield significantly different bond strengths to human dentin. The chemical-cured acrylic resin cement showed highest bond strength and should therefore be preferred in clinical situations where the light could not transmit through the restoration. Time after bonding increased the bonding performance of all resin cements.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
คำทอง, พรรณนิภา, "แรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน ภายใต้ปฏิกิริยาการแข็งตัวทางเคมี" (2016). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 20171.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/20171