Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของการขัดเซรามิกด้วยวิธีขัดต่าง ๆ ต่อความหยาบพื้นผิวของเซรามิกชนิดแคดแคมบล็อก

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

EFFECT OF VARIOUS POLISHING TECHNIQUES ON SURFACE ROUGHNESS OF CAD/CAMCERAMIC BLOCKS

Year (A.D.)

2016

Document Type

Thesis

First Advisor

ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์

Faculty/College

Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ทันตกรรมหัตถการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2016.375

Abstract

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบความเรียบผิวของแคดแคมเซรามิกบล็อก 3 ชนิด ได้แก่ วีต้ามาร์คทูบล็อก ไอพีเอส เอ็มเพรสแคดบล็อกและไอพีเอส อีแมกซ์แคดบล็อกชนิดละ 70 ชิ้น ที่ผ่านการขัดด้วยวิธีขัดต่าง ๆ เทียบกับการเคลือบทับ โดยนำเซรามิกทั้ง 3 ชนิดมาทำการกรอเลียนแบบผิวชิ้นงานให้ใกล้เคียงกับเซรามิกที่ผ่านการกลึงจากเครื่องซีเรคด้วยหัวกรอกากเพชรขนาด 50 ไมโครเมตร แล้วนำมาวัดค่าความความหยาบพื้นผิวเป็นค่าความหยาบพื้นผิวก่อนการขัด โดยใช้เครื่องโปรฟิลโลมิเตอร์ หลังจากนั้นแบ่งกลุ่มเซรามิก 70 ชิ้นตัวอย่างเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้นตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 และ 2 ขัดด้วยชุดหัวยางแอสโทรโพล กลุ่มที่ 3 และ 4 ขัดด้วยหัวขัดชนิดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ กลุ่มที่ 5 และ 6 ขัดด้วยชุดหัวขัดออปตร้าไฟน์โดยใช้จำนวนครั้งในการขัด 20 และ 40 ครั้งตามลำดับ และกลุ่มที่ 7 ทำการเคลือบทับ จากนั้นนำชิ้นงานมาวัดค่าความหยาบพื้นผิว นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทางและเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยการทดสอบเชฟเฟที่ระดับความเชื่อมันร้อยละ 95 พบว่าในกลุ่มวีต้ามาร์คทูกลุ่มที่ผ่านการขัดด้วยชุดหัวขัดออปตร้าไฟน์ 20 และ 40 ครั้ง ชุดหัวยางแอสโทรโพล 40 ครั้ง และกลุ่มที่ขัดด้วยชุดหัวขัดชนิดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ 40 ครั้งมีความหยาบพื้นผิวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งมีความหยาบรองจากกลุ่มเคลือบทับ เซรามิกไอพีเอส เอ็มเพรสแคดพบว่ากลุ่มที่ขัดด้วยชุดหัวขัดออปตร้าไฟน์และกลุ่มที่ขัดด้วยหัวขัดชนิดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ทั้ง 20 และ 40 ครั้งมีความหยาบพื้นผิวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งมีความหยาบรองจากกลุ่มเคลือบทับ เซรามิกไอพีเอส อีแมกซ์แคดพบว่ากลุ่มที่ผ่านการขัดด้วยหัวขัดชนิดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ 40 ครั้งและกลุ่มที่ขัดด้วยหัวขัดออปตร้าไฟน์ 40 ครั้งมีค่าเฉลี่ยความหยาบพื้นผิวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งมีความหยาบรองจากกลุ่มเคลือบทับ สรุปผลการวิจัย วิธีการขัดและจำนวนครั้งในการขัดที่เหมาะสมกับเซรามิกแต่ละชนิดคือ กลุ่มวีต้ามาร์คทู การขัดด้วยหัวขัดออปตร้าไฟน์ หัวขัดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ หัวขัดยางแอสโทรโพล 40 ครั้ง และหัวขัดออปตร้าไฟน์ 20 ครั้ง กลุ่มไอพีเอส เอ็มเพรสแคดวิธีที่เหมาะสมในการขัดคือการขัดด้วยหัวขัดออปตร้าไฟน์และหัวขัดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ทั้ง 20 และ 40 ครั้ง ส่วนกลุ่มไอพีเอส อีแมกซ์แคดวิธีการขัดที่เหมาะสมคือการใช้แผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์และหัวขัดออปตร้าไฟน์ 40 ครั้ง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The aim of this study was to compare the effect of various polishing techniques and overglazing on the surface roughness of Vita Mark™II blocks (70 specimens) IPS Empress CAD™blocks (70 specimens) and IPS e.max CAD™blocks (70 specimens). First, all specimens were ground with 50 micron diamond burs to simulate surface derived from Cerec milling system. The surface roughness was measured with a profilometer. Seventy blocks of each type of ceramic were divided into 7 groups (10 blocks each). Groups 1 and 2 were polished with Astropol™, groups 3 and 4 with SofLex™disc, groups 5 and 6 with OptraFine™system for 20 and 40 strokes respectively. Group 7 was overglazed. The mean values of average surface roughness (Ra) were compared using 3-way ANOVA and Post Hoc Scheffe test (α=0.05). In Vita Mark™II groups, no significant difference in the mean surface roughness values was found between ceramic polished with OptraFine™system 20, 40 strokes, Astropol™ 40 strokes and SofLex™disc 40 strokes, which Ra were inferior to overglazed group. In IPS Empress CAD™groups, no significant difference in the mean surface roughness values was found between ceramic polished with OptraFine™system 20, 40 strokes, SofLex™disc 20, 40 strokes, which Ra were inferior to overglazed group. In IPS e.max CAD™group, no significant difference in the mean surface roughness values was found between ceramic polished with SofLex™disc 40 strokes and OptraFine™system 40 strokes, which Ra were inferior to overglazed group. From this study the proper polishing method for Vita Mark™II was to polish with OptraFine™ using 20, 40 strokes, SofLex™disc 40 strokes, Astropol™ 40 strokes, IPS Empress CAD™ with OptraFine™20, 40 strokes, SofLex™disc 20, 40 strokes, and IPS e.max CAD™ with SofLex™disc 40 strokes and OptraFine™system 40 strokes.

Share

COinS