Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของเรซินโคตทิงที่มีต่อกำลังแรงยึดดึงระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

EFFECT OF RESIN COATING ON TENSILE BOND STRENGTH BETWEEN RESIN CEMENTS AND DENTIN

Year (A.D.)

2013

Document Type

Thesis

First Advisor

นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล

Faculty/College

Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ทันตกรรมประดิษฐ์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2013.243

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเรซินโคตทิงต่อกำลังแรงยึดดึงระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน โดยใช้เรซินโคตทิง 1 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ไฮบริดโคต และเรซินซีเมนต์ 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ พานาเวียเอฟทูและซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี การทดสอบกำลังแรงยึดดึง ฟันกรามมนุษย์จำนวน 40 ซี่ ถูกตัดด้านบดเคี้ยวในแนวระนาบเพื่อเผยให้เห็นเนื้อฟันด้วยเครื่องตัดฟันความเร็วต่ำ จากนั้นขัดผิวเนื้อฟันด้วยกระดาษซิลิกอนคาร์ไบด์ความละเอียด 600 กริท แบ่งฟันเป็น 4 กลุ่มได้แก่ 1) เนื้อฟันที่ไม่เคลือบด้วยเรซินโคตทิงแล้วยึดด้วยพานาเวียเอฟทู 2) เนื้อฟันที่เคลือบด้วยเรซินโคตทิงแล้วยึดด้วยพานาเวียเอฟทู 3) เนื้อฟันที่ไม่เคลือบด้วยเรซินโคตทิงแล้วยึดด้วยซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี และ 4) เนื้อฟันที่เคลือบด้วยเรซินโคตทิงแล้วยึดด้วยซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี เก็บชิ้นงานทั้งหมดไว้ภายใต้ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง นำชิ้นงานมาเตรียมเป็น รูปมินิดัมเบลล์ (10 ชิ้นตัวอย่างต่อกลุ่มการทดสอบ) และทดสอบกำลังแรงยึดดึงด้วยเครื่องทดสอบแรงแบบสากล ด้วยความเร็วหัวจับ 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที บันทึกค่ากำลังแรงยึดดึงเป็นหน่วยเมกะปาสคาลนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว นำชิ้นทดสอบที่ผ่านการทดสอบไปตรวจสอบรูปแบบความล้มเหลวด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการทดสอบ กำลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่าเท่ากับ 9.59 ±3.65 และ 5.54±2.07 เมกะปาสคาล ตามลำดับ ส่วนกลุ่ม 3 และ 4 มีค่าเท่ากับ 17.03±2.93 และ 8.81 ±3.85 เมกะปาสคาล ตามลำดับ วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวพบว่ากำลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 3 มีค่าสูงที่สุดและแตกต่างจากกลุ่มที่เหลืออีก 3 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และกำลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนกำลังแรงยึดดึงระหว่างกลุ่มที่ 1 กับกลุ่มที่ 4 และกำลังแรงยึดดึงระหว่างกลุ่มที่ 2 กับกลุ่มที่ 4 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ความล้มเหลวของชิ้นทดสอบ พบว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 เกิดระหว่างชั้นยึดโดยมีเรซินซีเมนต์หลงเหลือบนเนื้อฟันขณะที่ร้อยละ 60 ของกลุ่มที่ 2 และร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ 4 เกิดระหว่างชั้นเรซินโคตทิงกับเรซินซีเมนต์โดยมีเรซินซีเมนต์เหลือบนชั้นเรซินโคตทิง สรุปได้ว่ากำลังแรงยึดดึงของเนื้อฟันกับเรซินซีเมนต์ซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี และพานาเวียเอฟทูมีค่าสูงกว่ากลุ่มเนื้อฟันที่ผ่านการเคลือบด้วย เรซินโคตทิงแล้วยึดด้วยเรซินซีเมนต์ทั้งสองชนิด

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objective of this study was to evaluate the effect of a resin coating on tensile bond strength (TBS) between resin cements and dentin by using a product of resin coating: Hybrid coat and 2 products of resin cement : Panavia F 2.0 and Superbond C&B. For TBS test, 40 extracted human molars were ground to flatten dentin surface using low speed cutting machine and finished by 600-grit silicon carbide paper. The teeth were divided into 4 groups; 1) fresh dentin without coating was bonded with Panavia F 2.0, 2) dentin was coated by resin coating and bonded with Panavia F 2.0, 3) fresh dentin without coating was bonded with Superbond C&B, and 4) dentin was coated by resin coating and bonded with Superbond C&B. After storage at 100% relative humidity and 37◦C for 24 hours, all bonded teeth were prepared to mini-dumbbell specimens. The tensile bond strength was performed using universal testing machine at cross-head speed 0.5 mm/min. Data were statistically analyzed by one-way ANOVA. The failure mode was determined under scanning electron microscope. Results : The tensile bond strengths of group 1 and 2 were 9.59 ± 3.65 and 5.54 ±2.07 MPa, respectively. While those of group 3 and 4 were 17.03 ± 2.93 and 8.81 ± 3.85 MPa, respectively. The highest tensile bond strength was found in group 3 and it was significantly different to other three groups (p<0.05). The tensile bond strengths between group 1 and 2 were significantly different (p<0.05). On the other hand, there was no significant difference between bond strengths of group 1 and 4 as well as between group 2 and 4 (p>0.05). For failure mode, 70% of specimens in group 1 and group 3 showed partial adhesive failure with remnants of resin cement remained on dentin surface. While 60% of specimens in group 2 and 70% of those in group 4 demonstrated partial adhesive failure with remnants of resin cement on coated dentin surface. Conclusion: Both Panavia F 2.0 and Superbond C&B showed higher tensile bond strength on fresh dentin than coated dentin.

Share

COinS