Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมสุขภาพและแนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของกลุ่มเสี่ยง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
INFLUENCES OF RISK PERCEPTION ON HEALTH BEHAVIOR AND COMMUNICATION GUIDELINES FOR PREVENTIVE BEHAVIOR ON NON-CONTAGIOUS SYNDROMES OF RISK GROUP
Year (A.D.)
2013
Document Type
Thesis
First Advisor
ดวงกมล ชาติประเสริฐ
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
นิเทศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2013.360
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพเพื่อนำปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมาพัฒนาเป็นชิ้นงานสื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคและศึกษาอิทธิพลของสื่อที่มีต่อพฤติกรรมป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยง โดยทำการศึกษา 2 กรณีได้แก่โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และโรคหัวใจ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจกรณีศึกษาละ 400 คนรวม 800 คนโดยประมวลผลด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ และการทดสอบความแปรปรวนหลายตัวแปร ระยะที่ 2 ศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก 23 คนและวิเคราะห์ผลโดยวิธีสรุปจากข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ภาพรวมของทั้ง 2 โรคการรับรู้ตัวแปรในกลุ่มแนวโน้มส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงมากกว่าการรับรู้ตัวแปรในกลุ่มภัยร้ายการรับรู้ความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และการรับรู้ความเสี่ยงโรคหัวใจมีความแตกต่างกันอย่างตรงกันข้าม โดยกลุ่มตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความเสี่ยงของ 2 โรคเป็นคนละชุดตัวแปรกรณีโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การรับรู้ความคุ้นเคย และการรับรู้ความน่ากลัว มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยง กรณีโรคหัวใจคือ การรับรู้ความใกล้ การรับรู้การควบคุมได้ด้วยตนเอง การรับรู้ความสามารถในตน และการรับรู้ความสูญเสียมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยง ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และโรคหัวใจเป็นตัวแปรเดียวกันคือการรับรู้ความสามารถในตน ทั้งนี้กรณีโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การรับรู้ความสามารถในตน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในลักษณะเป็นเงื่อนไขกับตัวแปรความคุ้นเคยและความน่ากลัวแต่กรณีโรคหัวใจไม่พบว่า มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในลักษณะเป็นเงื่อนไขระยะที่ 2 นำตัวแปรการรับรู้ความสามารถในตนมาใช้เป็นแนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และโรคหัวใจพบว่ากลุ่มเสี่ยงสูงส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงบวกต่อการสื่อสารแนวทางกระตุ้นการรับรู้ความสามารถในตนเนื่องจากรู้สึกได้รับกำลังใจทำให้อยากปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันมากกว่าแนวทางการสื่อสารที่ไม่มีการกระตุ้นการรับรู้ความสามารถในตน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this research was to study influences of risk perception on health behavior and to study communication guidelines for preventive behavior on non-contagious syndromes of risk group in 2 case studies; Colorectal Cancer and Heart Disease. The study was divided into 2 phases. The first phase was survey research comprising Correlation Analysis, Multiple Regression Analysis, and 3-way ANOVA on 800 cases (400 cases for each disease). The second phase was a qualitative research, collecting data by in-depth interview with 23 key informants and analyzing through grounded theory method.The result found that at the first phase, risk perception factors in Probability aspect has more influence on health behavior than risk perception factors in Hazard aspect for both case studies. In detail, risk behaviors are affected by different factors. For Colorectal Cancer, risk behaviors are affected by perceived familiarity and perceived dread. But Heart Disease, risk behaviors are affected by perceived nearness, perceived control by self, perceived self-efficacy and perceived loss.Perceived self-efficacy is the most effective factors on risk behavior. For Colorectal Cancer, perceived self-efficacy affects risk behavior by conditional relationship with perceived familiarity and perceived dread. At the second phase, as a communication guideline, self-efficacy message increases not only positive attitude but also preventive intention in both cases of high risk group.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สำเภาเงิน, นิยะนันท์, "อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมสุขภาพและแนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของกลุ่มเสี่ยง" (2013). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 19853.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/19853