Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการใช้อินเตอร์เน็ต
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Factors related to internet self-efficacy
Year (A.D.)
2004
Document Type
Thesis
First Advisor
ดวงกมล ชาติประเสริฐ
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วารสารสนเทศ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2004.444
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถตนเองในการใช้อินเตอร์เน็ต โดยศึกษากับนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนระยองวิทยาคม มีวิธีการเก็บรวยรวมข้อมูลเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 471 ชุด และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทางจิตวิทยาตามกรอบแนวคิดของแบนดูร่ามีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถตนเองในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยตัวแปรด้านความคิดวิตกกังวลในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางสถิติสูงสุดที่ -0.627 รองลงมาคือตัวแปรด้านประสบการณ์ความสำเร็จ การชัดจูงด้วยวาจา ส่วนการสังเกตการใช้ของผู้อื่นเป็นตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางสถิติต่ำที่สุดที่ 0.134 และเมื่อทดสอบแบบจำลองการรับความสามารถตนเองตามกรอบแนวคิดของแบนดูร่าด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่าตัวแปรประสบการณ์ความสำเร็จ การชักจูงด้วยวาจาและความวิตกกังวล เป็นตัวแปรที่อิทธิพลต่อการรับรู้ความสามารถตนเองในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยทางจิตวิทยาอื่น ๆ นั้น พบว่าปัจจัยด้านทัศนคติที่ดีต่ออินเทอร์เน็ตเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถตนเองในการใช้อินเทอร์เน็ตสูงสูด รองลงมาคือการชอบหาทางลัดหรือวิธีที่เร็วที่สุดในการทำงาน ความต้องการเป็นคนสมบูรณ์แบบและการชอบใช้ความคิดตามลำดับ ด้านปัจจัยทางด้านสังคมประชากรนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับผลการเรียน เพศและสาขาวิชาที่เรียนต่างกันมีการรับรู้ความสามารถตนเองในการใช้อินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน โดยผู้ที่มีระดับผลการเรียนสูง เรียนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์และเพศชายมีแนวโน้มที่มีการรับรู้ความสามารถตนเองในการใช้อินเทอร์เน็ตสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสังคมประชากรแตกต่างออกไป สุดท้าย ด้านปัจจัยในระดับปัจเจกบุคคล พบว่าทักษะที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต ด้านทักษะการพิมพ์ดีดและทักษะการเขียนภาษาไทยและภาษาต่างอังกฤษ การมีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน การมีนิสัยชอบเรียนรู้งานการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใหม่ด้วยตนเอง การไม่มีงานที่ต้องทำคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเอง เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามรถตนเองในการใช้อินเทอร์เน็ต
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research uses both quantitative and qualitative approaches. The objective is to study factors that are related to Internet self-efficacy. The subjects studied are senior high school students of Rayongwittayakom School. Data collection draws upon a questionnaire-cased survey of 471 students and in-depth interviews with 20 students. The study finds that psychological factors according to the Bandura framework are related to Internet self-efficacy. Computer Anxiety is found to be the variable with the highest value in statistic relationship at -0.607, followed by Enactive Mastery experience, and verbal persuasion. Meanwhile, Vicarious Experience is found to be the variable with the lowest value in statistical relationship at 0.145. Also, after testing the Bandura self-efficacy framework with Multiple Regression Analysis, the study finds that Enactive Mastery experience, verbal persuasion, and Computer anxiety are variables that influence Internet self-efficacy with statistical significance. As for the psychological factors, the study finds that attitude towards the Internet is the variable that has the highest relationship with Internet self-efficacy, followed by a preference for a shortcut or the fastest way to work, drive for perfection, and the Need for Cognition, in that respective order. In terms of socio-demographic variables, the study finds that the sample with different grades, gender, and area of study have different Internet self-efficacy. Those with higher grades of those within the science-math program tend to have higher perception of Internet self-efficacy than those with different socio-demographic attributes. Lastly, with regard to individual factors, the study find that Internet use skill, skills related to Thai and English literacy, having a computer at home, apprenticeship, computer use in a new and personalized style, and having a job that does hot require computer use are variables that are related to Internet self-efficacy.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปึงประวัติ, นงลักษณ์, "ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการใช้อินเตอร์เน็ต" (2004). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 19704.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/19704