Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตตนิยมวัฒนธรรมผู้บริโภคกับภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดการรับรู้คุณภาพสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Relationships of consumer ethnocentrism to country image, perceived product quality, and purchase intention

Year (A.D.)

2004

Document Type

Thesis

First Advisor

สราวุธ อนันตชาติ

Faculty/College

Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การโฆษณา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2004.361

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตตนิยมวัฒนธรรมผู้บริโภคกับภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด การรับรู้คุณภาพสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค ทั้งกับสินค้าในประเทศและสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ตลอดจนทำการศึกษาความแตกต่างของระดับอัตตนิยมวัฒนธรรมผู้บริโภคของผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกันด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริโภคเพศชายและเพศหญิง อายุ 25-59 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ประเภทสินค้าที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ประเภท คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องสำอาง และเฟอร์นิเจอร์ที่มาจากประเทศแหล่งกำเนิด 4 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน ผลการวิจัยพบว่า อัตตนิยมวัฒนธรรมผู้บริโภคมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด การรับรู้คุณภาพสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคของสินค้าในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะเดียวกันพบว่า อัตตนิยมวัฒนธรรมผู้บริโภคมีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นเพียงบางส่วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการรับรู้คุณภาพสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคของสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรอันได้แก่ เพศ อายุ รายได้ การศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับอัตตนิยมวัฒนธรรมผู้บริโภคที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้บริโภคที่มีระดับอัตตนิยมวัฒนธรรมผู้บริโภคสูงกว่า จะเป็นเพศหญิง เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า เป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า เป็นผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่า และมีอาชีพรับราชการ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this research were to study (1) the relationships of consumer ethnocentrism to country image, perceived product quality, and purchase intention of domestic and foreign products, and (2) the difference of consumer ethnocentrism in consumers with various demographic characteristics. A self-administered questionnaire was used to collect data from 400 consumers aged 25-59 years old in Bangkok. Finished clothes, cosmetics, and furniture were the product categories chosen in this research. In addition, Thailand, United States of America, Japan, and China were selected as the country-of-origin for the products studied. The findings significantly showed that (1) there were positive correlations between consumer ethnocentrism and country image, perceived product quality, purchase intention of domestic products, (2) there was partially negative correlation between consumer ethnocentrism and country image of foreign products, (3) there were no negative correlations between consumer ethnocentrism andperceived product quality, purchase intention of foreign products, and (4) demographic characteristics, that is, gender, age, income, education, and occupation, indicated different results on consumer ethnocentrism. In other words, females, older people, lower-income consumers, less-educated consumers, and government officials exhibited higher ethnocentric tendencies.

Share

COinS