Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์และประสิทธิผลโครงการเก็บค่าไฟใส่กระเป๋า

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Public relations strategy in media utilization and effectiveness in electricity saving campaign

Year (A.D.)

2003

Document Type

Thesis

First Advisor

พัชนี เชยจรรยา

Faculty/College

Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิเทศศาสตรพัฒนาการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2003.424

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่ใช้ในการรณรงค์โครงการเก็บค่าไฟใส่กระเป๋าและประสิทธิผลโครงการดังกล่าว โดยศึกษาจากการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ของกลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่ศึกษาในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเก็บค่าไฟใส่กระเป๋าในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 424 คน โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การศึกษากลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ โดยใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก และการศึกษาจากเอกสารโครงการ และส่วนที่สอง คือ การศึกษาประสิทธิผลโครงการรณรงค์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for WINDOW ในการประมวลผล ผลการศึกษาในส่วนกลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของโครงการรณรงค์นั้น พบว่า กลยุทธ์หลัก คือ การใช้สื่อผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ และมีการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงาน สำหรับผลการศึกษาในส่วนของประสิทธิผลโครงการรณรงค์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนและสื่อบุคคลมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรู้ ส่วนสื่อเฉพาะกิจไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ 2. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่อเฉพาะกิจไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า 3. ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The main objective of this research was to study public relations strategy in media utilization and effectiveness in electricity saving campaign. Its effectiveness was also examined through assessing primary school students's exposure to this campaign, knowledge and participation in electricity saving. Questionnaires were used to collect data from a total of 424 students. The sample from schools participating in The electricity saving campaign. Frequency, percentage, mean and pearson's product moment correlation coefficient were employed for the analysis of data SPSS program was used for data processing. The result of the study revealed that the principle strategies were to mixed media used in order to conduct the knowledge and participation in electricity saving. The result of the assumption were as follows: 1. Exposure to the campaign mass media and personal media is negatively correlated with knowledge concerning electricity saving but specialized media is no correlated with knowledge concerning electricity saving. 2. Exposure to the campaign mass media, personal media and specialized media is no correlated with participation in electricity saving. 3. Knowledge concerning electricity saving is positively correlated with participation in electricity saving.

Share

COinS