Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
รูปแบบการดำเนินชีวิต การแสวงหาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจท่องเที่ยว และ พฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนวัยทำงาน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Lifestyle, information seeking for travelling, and travel behavior of working people
Year (A.D.)
2003
Document Type
Thesis
First Advisor
รัตยา โตควณิชย์
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การโฆษณา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2003.458
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนวัยทำงาน 2) พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยว 3) พฤติกรรมการท่องเที่ยว และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการดำเนินชีวิต การแสวงหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนวัยทำงาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของคนวัยทำงาน อายุ 20-45 ปี จำนวน 420 คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนวัยทำงาน แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มรักการแข่งขัน 2) กลุ่มคนรุ่นใหม่ 3) กลุ่มอนุรักษ์นิยม 4) กลุ่มก้าวทันโลก 5) กลุ่มผู้นำยุคใหม่ 6) กลุ่มรักครอบครัว 7) กลุ่มตามใจตัวเอง 8) กลุ่มตามกระแส และ 9) กลุ่มเป็นตัวของตัวเอง 2. คนวัยทำงานที่มีความแตกต่างด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ มีการแสวงหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวต่างกัน ส่วนคนวัยทำงานที่มีความแตกต่างด้านอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนรุ่นใหม่ อนุรักษ์นิยม ก้าวทันโลก รักครอบครัว และตามกระแสมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยว 4. กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนรุ่นใหม่ อนุรักษ์นิยม ก้าวทันโลก ผู้นำยุคใหม่ และตามกระแส มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการท่องเที่ยว 5. พฤติกรรมการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการแสวงหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนวัยทำงาน นอกจากนี้ยังพบว่า การวิเคราะห์โดยใช้ตัวแปรร่วมกัน 3 ตัว คือ การแสวงหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ลักษณะทางจิตวิทยาและลักษณะทางประชากร สามารถอธิบายพฤติกรรมการท่องเที่ยวได้ดีกว่าการวิเคราะห์โดยใช้เพียง 2 ตัวแปร คือ การแสดงหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวและลักษณะทางจิตวิทยา
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were 1) to segment working people based on their lifestyles, 2) to study their information seeking behavior, 3) to study their travel behavior, and 4) to determine the relationship among lifestyles, information seeking and travel behavior. Questionnaires were used to collect survey data from 420 working people aged 20-45 years old in Bangkok. The results were as follows : 1. Lifestyle of working people were segmented into 9 groups; Competition-loving group, Next generation group, Conservative group, Up-to-date group, Nouveau leadership group, Family-oriented group, Self-indulgent group, Trend follower group, and Independent group. 2. Working people with different gender, education, and monthly salary had significantly different information seeking behavior. Working people with different age, education, and marriage status had significantly different travel behavior. 3. Next generation group, Conservative group, Up-to-date group, Family-oriented group, and Trend follower grouphad positive correlations with information seeking behavior. 4. Next generation group, Conservative group, Up-to-date group, Nouveau leadership group, and Trend follower group had positive correlations with travel behavior. 5. Travel behavior had positive correlations with information seeking behavior and lifestyle of working people. In addition, the use of information seeking, psychographic, and demographic variables all together could explain travel behavior better than the use of information seeking and psychographic variables.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เกิดมงคล, เกษรา, "รูปแบบการดำเนินชีวิต การแสวงหาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจท่องเที่ยว และ พฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนวัยทำงาน" (2003). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 19501.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/19501