Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กลยุทธ์การสื่อสารของกลุ่มสันติอโศก

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Communication strategies of Santi Asoke group

Year (A.D.)

2002

Document Type

Thesis

First Advisor

ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล

Faculty/College

Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิเทศศาสตรพัฒนาการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2002.455

Abstract

วิจัยการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการสร้างและการธำรงรักษาเครือข่ายของกลุ่มสันติอโศก และกลยุทธ์การสื่อสารในการนำเสนออัตตลักษณ์ของกลุ่มสันติอโศกสู่สาธารณชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 16คน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการสร้างและการธำรงรักษาเครือข่ายของกลุ่มสันติอโศก ได้แก่ (1) การใช้พุทธปฏิบัติเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าเป็นสมาชิกเครือข่าย, (2) การจัดช่องทางสำหรับสมาชิกในการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอ, (3) การใช้วันสำคัญทางศาสนาเป็นช่องทางในการพัฒนาเครือข่าย และ (4) การสื่อสารผ่านสื่อ การสื่อสารแบบกลุ่ม และการสื่อสารแบบตัวต่อตัว เพื่อการสร้างเครือข่าย 2. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการธำรงรักษาเครือข่ายของกลุ่มสันติอโศก ได้แก่ (1) การใช้หนังสือเครือข่ายชุมชนชาวอโศกเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างชาวอโศกกลุ่มต่าง ๆ, (2) การใช้สมุดตรวจศีลในการพัฒนาสมาชิก, (3) การเน้นคุณภาพสมาชิกมากกว่าการขยายปริมาณสมาชิก, (4) การใช้วันสำคัญทางศาสนาเป็นช่องทางในการรักษาความสัมพันธ์เครือข่าย และ (5) การใช้สื่อหลากหลายชนิดเพื่อการเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ของกลุ่มสันติอโศก 3. กลยุทธ์การสื่อสารในการนำเสนออัตตลักษณ์ของกลุ่มสันติอโศกลสู่สาธารณชนได้แก่ (1) การกำหนดเป้าหมายของกลุ่มสันติอโศกที่ชัดเจน, (2) การนำเสนอวิถีการปฏิบัติในชีวิตประจำวันของชาวอโศกผ่านสื่อบุคคล, (3) การตั้งชื่อของชาวอโศกที่เน้นความเป็นธรรมชาติและความเป็นไทย, (4) การผลิตสินค้าและร้านค้าตามแนวความคิดพาณิชย์ระบบบุญนิยม และ (5) การนำเสนอเรื่องต่าง ๆ ของกลุ่มสันติอโศกผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อมวลชน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objective of this research is to study the communication strategies of Santi Asoke group in network forming and maintaining, and in presenting their identities to the public. Documentary research and depth interview with 16 key informants were used to complete the study. The results are as followed :- 1. The communication strategies of Santi Asoke group in network forming are (1) the use of the Buddhist ways of life for the entry point of the memberships, (2) the channel management for the memberships in the meeting regularly, (3) the use of Buddhist holy days for the channel in developing the network and (4) the communication by using the media, group communication and face-to-face communication for forming the network. 2. The communication strategies of Santi Asoke group in network maintaining are (1) the use of Santi Asoke network book in communicating among Santi Asoke networks, (2) the use of the commandments of the Buddha's checkbook in developing the membership, (3) the emphasis on the quality of the memberships more than the quantity of the memberships, (4) the use of Buddhist holy days for the channel in maintaining the relationship of the network and (5) the use of the various kinds of media to publicize the information of Santi Asoke group. 3. The communication strategies of Santi Asoke group in presenting their identities to the public are (1) the distinguishing assignments in the objectives of Santi Asoke group, (2) the presentation of Santi Asoke's Buddhist ways in dairy life by using the individual, (3) the name of the memberships related to the nature and the aspect of Thai, (4) the concept of meritorious business in the stores and products and (5) the presentation in the thinking ways of life, Santi Asoke's Buddhist ways of life and the network activities by using the printed media and mass media.

Share

COinS