Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประยุกต์ต้นทุนฐานกิจกรรมเพื่อการวางแผนและการควบคุมการปฏิบัติงานสำหรับส่วนกำกับดูแลผู้เสียภาษี กรมสรรพากร

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The application of activity - based costing for performance planning and control for tax supervision of revenue department

Year (A.D.)

2006

Document Type

Thesis

First Advisor

สุจิตรา ตุลยาเดชานนท์

Faculty/College

Faculty of Commerce and Accountancy (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี)

Degree Name

บัญชีมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การบัญชี

DOI

10.58837/CHULA.THE.2006.627

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ต้นทุนฐานกิจกรรมสำหรับส่วนกำกับดูแลผู้เสียภาษีกรมสรรพากร โดยศึกษากิจกรรมการปฏิบัติงานตัวผลักดันต้นทุน และระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรม โดยเก็บข้อมูลจากแบบสำรวจ ซึ่งส่งแบบสำรวจไปยังทีมกำกับดูแลผู้เสียภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่ จำนวน 218 ทีมกำกับดูแล การกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มโดยพื้นที่ การสุ่มแบบโควต้า และการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งได้รับแบบสำรวจคืนจำนวน 83 ทีมกำกับดูแล ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดโครงสร้างต้นทุนฐานกิจกรรมและประยุกต์เข้าสู่ส่วนกำกับดูแลผู้เสียภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่ระยอง สามารถกำหนดงานกำกับดูแลหลักได้ 5 งาน คือ การตรวจสภาพกิจการ การตรวจคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม การตรวจคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล การตรวจคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการตรวจสอบยันใบกำกับภาษี และจากโครงสร้างต้นทุน แสดงให้เห็นว่า ต้นทุนการตรวจสภาพกิจการถือเป็นต้นทุนที่สูงที่สุด คือ 2,662.28, 3,083.93 และ 2,659.26 บาทต่อรายผู้ประกอบการสำหรับการออกตรวจธุรกิจซื้อมาขายไป ผลิต และการบริการตามลำดับ โดยมีข้อกำหนดเบื้องต้น คือ มีเอกสารประกอบสำนวนปริมาณปานกลางและมีระยะทางในการเดินทางออกตรวจ 30 กิโลเมตร โดยกลุ่มกิจกรรมการออกหมายเรียกมีการปฏิบัติงานกำกับดูแลที่แตกต่างกันในแต่ละสำนักงานภาค ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จึงมีผลทำให้การกำหนดโครงสร้างต้นทุนฐานกิจกรรมครั้งนี้ ไม่ได้รวมกลุ่มกิจกรรมการออกหมายเรียก เนื่องจากทีมกำกับดูแลมักจะไม่ทำการออกหมายเรียกแต่จะใช้การเจรจาประนีประนอมกับผู้ประกอบการ เพราะถือเป็นนโยบายของทางกรมสรรพากรในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้เสียภาษี สำหรับแนวทางในการลดต้นทุนสำหรับส่วนกำกับดูแลผู้เสียภาษี คือการประสานฐานข้อมูลผู้ประกอบการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดปัญหาการไม่พบสถานประกอบการจากการออกตรวจ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this thesis is to apply Activity-Based Costing for Tax Supervision of Revenue Department. This study focuses on the working performance of the activities, cost drivers and consumed time in each activity. The survey is conducted by sending the Tax Supervision Unit 218 questionnaires. The followings are the sampling methods used in this study: Area Sampling and Simple Random Sampling. There are 83 questionnaires responded. The study shows that the standardizing of Activity-Based Costing, it is applied to Tax Supervision in Rayong Area Revenue Office. This application is able to generate the 5 outputs: 1) Business Tax Supervision 2) Vat Refund Supervision 3) Corporate Income Tax Refund Supervision 4) Personal Income Tax Refund Supervision 5) Tax Invoice Cross Check As a result, Business Tax Supervision is highest: Baht 2,662.28, 3,083.93, and 2,659.29 from trading, manufacturing and service provider respectively. The costs are calculated from the following conditions: supporting documents at medium level and 30 kilometers scope of distance. The summons of activity pool has a significant difference in each Regional Revenue Office as expected, at 95% confidence interval. For this reason, the design of cost structure excludes the summons activity pool. Seemingly, Tax Supervision doesn’t summon; however, they use negotiation basis with tax payer. This is a formal policy from Revenue Department to maintain the relationship with tax payer. In the area of cost reduction, sharing information the division concerned would be improved in order to avoid the problem that Tax Supervision cannot find the qualified tax payer during on-site check.

Share

COinS