Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Foreign ownership and firms' governance quality
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติและคุณภาพบรรษัทภิบาล
Year (A.D.)
2006
Document Type
Thesis
First Advisor
Manapol Ekkayokkaya
Faculty/College
Faculty of Commerce and Accountancy (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Finance
DOI
10.58837/CHULA.THE.2006.682
Abstract
This thesis provides new empirical evidence on the implications of corporate governance by investigating the conjecture that bad governance of firms in a low investor protection country can be improved by association with good governance mechanism. Three main results are found. First, the effect of a large foreign shareholder on shareholder value is unclear because the existence of a large foreign foreign shareholder has a positive effect on firm's ROA and is not strongly significant. There is no effect on firm value, firm's ROE, and stock liquidity. Moreover, the relationship between shareholder value and foreign ownership is opposite from entrenchment hypothesis. The relationship between shareholder value and foreign ownership is negative at low level of ownership, but become positive at the medium level. It decreases again once ownership level become high. This indicates wealth of a local company expropriated by a large foreign shareholder at the very high level of ownership. Second, a large foreign shareholder specifically from a good investor protection country, exhibits negative impact on shareholder value - implying that the wealth of a local company may be easily expropriated if located in a low protection country. Finally, the impact of a large foreign shareholder on shareholder value pre and post the corporate governance promotion by authorities is not significantly different. In other words, the role of a large foreign shareholder on firm's governance remains similar between pre and post the corporate governance promotion. The result implies that Thailand's level of corporate governance had not changed since the financial crisis of 1997. From all the results, this thesis seeks a different perspective on the role of a large foreigner shareholder in firm's governance located in an emerging market, the Thai market.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์เรื่อง บรรษัทภิบาลของบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติ ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบจากการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาตินั้นไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะสรุปได้ว่า มูลค่าของผู้ถือหุ้นของบริษัที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติ จะสูงกว่าบริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมีเพียงผลการดำเนินงานของบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติเท่านั้น ที่สูงกว่าบริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติ ในขณะที่ผลกระทบจากการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติต่อมูลค่าของบริษัท และสภาพคล่องของหลักทรัพย์นั้นไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ ที่มีต่อมูลค่าของผู้ถือหุ้นพบว่า มูลค่าของผู้ถือหุ้นจะลดลง เมื่อสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นในระดับต่ำ และเมื่อสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติสูงขึ้นในระดับกลาง มูลค่าของผู้ถือหุ้นจะเพิ่มขึ้นในลักษณะแปรผันตรงซึ่งกันและกัน และเมื่อสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวอยู่ในอัตราที่สูงมาก มูลค่าของผู้ถือหุ้นจะลดลง สามารถสรุปได้ว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เป็นนักลงทุนต่างชาติ จะถ่ายเทเอาความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นรายย่อยไปเป็นของตนเอง เมื่อผู้ถือหุ้นต่างชาติมีสัดส่วนการถือหุ้นสูงในระดับที่สามารถควบคุมบริษัทได้ นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่มาจากประเทศที่มีระดับการปกป้องนักลงทุนสูง จะทำให้มูลค่าของผู้ถือหุ้นลดลง จากผลการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าบริษัทที่ดำเนินกาในประเทศที่มีระดับการปกป้องนักลงทุนที่ต่ำ จะถูกถ่ายเทเอาความมั่งคั่ง โดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่มาจากประเทศที่มีระดับการปกป้องนักลงทุนสูงได้โดยง่าย และจากผลการศึกษาพบว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เป็นนักลงทุนต่างชาติส่งผลกระทบต่อมูลค่าของผู้ถือหุ้น ก่อนและหลังการส่งเสริมบรรษัทภิบาลโดยรัฐบาล ในระดับที่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จึงสรุปได้ว่ากิจกรรมที่เกี่ยวกับการปรับปรุงบรรษัทภิบาลหลังจากภาวะวิกฤตการทางเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ. 2540 นั้นไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากบทบาทของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เป็นนักลงทุนต่างชาติ ต่อบรรษัทภิบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น ไม่มีความแตกต่างกันทั้งก่อนและหลังกิจกรรม ที่เกี่ยวกับการปรับปรุงบรรษัทภิบาลหลังจากภาวะวิกฤตการทางเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ. 2540 จากผลการศึกษาเชิงประจักษ์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทในอีกแง่มุมหนึ่ง ของนักลงทุนต่างชาติต่อบรรษัทภิบาลของบริษัทที่ดำเนินกิจการในประเทศ ที่มีระดับการปกป้องนักลงทุนที่ต่ำ กล่าวคือ เมื่อนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติที่มาจากประเทศที่มีระดับการปกป้องนักลงทุนที่สูง มีสัดส่วนการถือหุ้นในอัตราที่สามารถควบคุมบริษัทได้ นักลงทุนต่างชาติจะถ่ายเทเอาความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นไปเป็นของตนเอง ทำให้มูลค่าของผู้ถือหุ้นลดลง
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Tirawannarat, Suchot, "Foreign ownership and firms' governance quality" (2006). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 18711.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/18711