Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การวิเคราะห์รูปแบบโซ่อุปทานสำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
An analysis of supply chain model for precast concrete factory
Year (A.D.)
2008
Document Type
Thesis
First Advisor
มาโนช โลหเตปานนท์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การจัดการด้านโลจิสติกส์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2008.1966
Abstract
วิเคราะห์และพัฒนารูปแบบโซ่อุปทานที่เหมาะสมสำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป ซึ่งเป็นการวางกลยุทธ์หรือออกแบบโซ่อุปทานของโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูป โดยการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ของโซ่อุปทานจะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการตัดสินใจ ในการเลือกรูปแบบโซ่อุปทานที่เหมาะสมที่สุดต่อการลงทุน และช่วยส่งเสริมการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในระบบก่อสร้างสำเร็จรูปของประเทศไทย นอกจากนี้ยังสามารถนำกระบวนการตัดสินใจไปเป็นแนวทางเพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นได้ด้วย ทั้งนี้ผู้วิจัยได้นำกระบวนการตัดสินใจลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) และทฤษฎีการตัดสินใจหลายบรรทัดฐาน (MCDM) โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมเชิงเส้นตรงแบบหลายวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนักวัตถุประสงค์ มาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการวิจัยผ่านกรณีศึกษา ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ประเภทพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ที่ต้องการลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่เหมาะสมที่สุด จาก 3 รูปแบบโรงงาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปมีทั้งหมด 13 ปัจจัย โดยปัจจัยเชิงคุณภาพได้รับความสำคัญ 60% ขณะที่ปัจจัยเชิงปริมาณได้ 40% ในการวิเคราะห์เลือกที่ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปผ่านการตัดสินใจหลายบรรทัดฐาน พบว่า หากรูปแบบโซ่อุปทานที่เหมาะสมต่อการลงทุนของบริษัทกรณีศึกษาคือ โรงงานแบบถาวรควรเลือกตั้งโรงงานที่ปทุมธานี ถ้าเป็นแบบกึ่งถาวรควรเลือกที่โครงการท่าข้าม ซึ่งจากการพัฒนากรอบการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบโซ่อุปทานที่เหมาะสม ด้วยกระบวนการตัดสินใจลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ พบว่าบริษัทกรณีศึกษาควรเลือกรูปแบบโซ่อุปทานแบบโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำเร็จประเภทโรงงานถาวร จึงจะเหมาะสมต่อการลงทุนที่สุด
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To analyze and develop supply chain model for precast concrete industry. Result from the analysis will lead to the selection of the appropriate supply chain model for investment purposes. Furthermore, this will be supplementary information for Thailand’s residential construction industry. The author used the analytic hierarchy process (AHP) and multiple criteria decision making (MCDM) with multiple objectives liner programming by weighted objective approach as tools for investigating the residential real estate development business. The results indicated that there are 13 major factors in the selection of precast concrete factory location, qualitative factor share is 60% and quantitative factor share is 40%. The outcome found that the appropriated investment decision in case of temporary factory is Thakham and in case of permanent factory is Pathum Thani. The firm decision is to use permanent factory at Pathum Thani.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สิทธิมงคลชัย, สุขุมาภรณ์, "การวิเคราะห์รูปแบบโซ่อุปทานสำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป" (2008). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 18147.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/18147