Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเภท และแหล่งที่มาของขยะทะเลตามฤดูกาลบริเวณหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Types and sources of marine debris in Bangsaen Beach, Chonburi Province

Year (A.D.)

2012

Document Type

Thesis

First Advisor

ปัทมา สิงหรักษ์

Second Advisor

ศุภิชัย ตั้งใจตรง

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2012.1788

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทและแหล่งที่มาของขยะทะเลตามฤดูกาลบริเวณหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ด้วยวิธีวาง belt transect ยาว 50 เมตร กว้างเฉลี่ย 27.20 ± 6.08 เมตร ในแนวตั้งฉากจากขอบน้ำทะเล โดยเก็บตัวอย่าง 9 สถานี ตลอดแนวความยาวชายหาด และศึกษาประเภทและปริมาณของขยะทะเลขนาดเล็กด้วยวิธีการสุ่ม quadrat ขนาด 30x30 เซนติเมตร บริเวณแนวน้ำขึ้นสูงสุด จำนวน 3 quadrat ต่อ 1 สถานี โดยเก็บตัวอย่างเดือนละ 1 ครั้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2554 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 พบว่ามีปริมาณขยะทะเลทั้งหมด 103,442 ชิ้น โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อพื้นที่เท่ากับ 69.48 ± 35.75 ชิ้น/100 ตารางเมตร และพบปริมาณขยะทะเลขนาดเล็กทั้งหมด 13,888 ชิ้น โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อพื้นที่เท่ากับ 42.86 ± 13.72 ชิ้น/900 ตารางเซนติเมตร สามารถแบ่งประเภทขยะทะเลได้ทั้งหมด 11 ประเภท ได้แก่ พลาสติก ยาง โฟม ไม้ โลหะ กระดาษ ขยะเศษอาหาร แก้ว ผ้า บุหรี่/ก้นบุหรี่ และขยะอื่น ๆ(เช่น เทียน ฯลฯ) โดยพบว่าขยะประเภทพลาสติกมีปริมาณมากที่สุดทั้งขยะทะเลขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ส่วนบุหรี่/ก้นบุหรี่มีปริมาณมากเป็นอันดับที่สอง ปริมาณของขยะทะเลรวมและปริมาณขยะทะเลรายประเภทในแต่ละเดือนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.01) และมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนชายหาดในช่วงเวลานั้น ๆ และพบว่าปริมาณของขยะทะเลต่อพื้นที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้แก่ ความเร็วและทิศทางลมในช่วงวันที่ทำการเก็บตัวอย่าง รองลงมาคือ การไหลเวียนของกระแสน้ำ และปริมาณน้ำท่าของแม่น้ำที่อยู่ใกล้กับชายหาด แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝน จากการวิเคราะห์หาแหล่งที่มาของขยะทะเลด้วยวิธี Matrix scoring พบว่าแหล่งที่มาหลักของขยะทะเลมาจากนักท่องเที่ยวและกิจกรรมบนชายหาด 54.21% รองลงมาคือ น้ำท่า 25.32% เรือสินค้า 8.46% เรือประมง/กิจกรรมตกปลา 7.87% และสิ่งก่อสร้างในทะเล 4.14% ตามลำดับ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research investigated types and sources of marine debris along the Bangsaen beach, Chonburi province. Debris was sampled with nine 50-m long belt transects from the water line to the edge of the vegetation with average width of 27.20 ± 6.08 m. Small marine debris (2 mm – 2 cm in size) was sampled by three sets of 30x30 cm quadrat above the high-tide mark for each transect. The surveys were carried out monthly from November 2011 to October 2012. A total number of 103,442 marine debris items were found, equating to mean density of 69.48 ± 35.75 items/100 m². A total number of 13,888 small marine debris items were found, equating to mean density of42.86 ± 13.72 items/900 cm². The marine debris can be classified into 11 types: plastic, rubber, foam, wood, metal, paper, food waste, glass, fabric, cigarette butts, and others (e.g. candles etc.) Plastic is the most abundant of both large and smalldebris followed by cigarette butts. The amount of marine debris and types of marine debris in each month were significantly different (p ≤ 0.01) and were found to be associated with the events that took place on the beach during the sampling time. The abundance of marine debris was well correlated with weather conditions including wind speed and direction during the sampling days and the run-off from the river near the beach. Using matrix scoring, sources of marine debris were identified. The main source of marine debris came from beach users (54.21%), followed by run-off (25.32%), shipping (8.46%), fishing boats and fishing activities (7.87%), and offshore installations (4.14%) respectively.

Share

COinS