Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย : กรณีศึกษาวัดในจังหวัดนครปฐม
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Superstitious and buddhist commercials in Thai practical Buddhism : case studies of temples in Nakhon Pathom province
Year (A.D.)
2012
Document Type
Thesis
First Advisor
พินิจ ลาภธนานนท์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
พัฒนามนุษย์และสังคม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2012.1802
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผสมกลมกลืนของพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ในวิถีชีวิตและวิถีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทย กับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม “บุญพาณิชย์" กับพุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมี ส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึกด้วยแนวคำถามการสัมภาษณ์ (Interview Guides) กับกลุ่มประชากรที่มีความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับพุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ ทั้งกลุ่มพระสงฆ์และฆราวาส ในพื้นที่วัดไร่ขิง พระอารามหลวง และวัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม รวมทั้งการค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพุทธศาสตร์ ไสยศาสตร์ พื้นฐานความเชื่อความศรัทธาต่างๆ รวมถึงวิถีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทยบนพื้นฐานแนวคิด “พุทธศาสนาเชิงปฏิบัติ" ภายใต้บริบทสังคมไทย เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ตามประเด็นการวิจัย และนำมาเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับใช้ประกอบกับการศึกษาและตีความข้อมูลจากการวิจัยสนาม ผลการวิจัย พบว่า วิถีชีวิตของคนไทยประกอบไปด้วยความเชื่อพื้นฐานที่เป็นไปตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย ทั้งความเชื่อเกี่ยวกับผีสางเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาตามลำดับ โดยเฉพาะพุทธศาสนาในประเทศไทย มีลักษณะที่ผสมผสานกับศาสนาพราหมณ์และคติความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับผีสางเทวดา อำนาจลึกลับ จนเป็นแหล่งที่มาของไสยศาสตร์ โดยผสมกลมกลืนไปกับพิธีกรรมหรือวิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนไทย และเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปด้วยอิทธิพลของทุนนิยมและบริโภคนิยม ก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติทางศาสนาของคนไทย เกิดการผันแปรความเชื่อและการปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนาแตกต่างไปจากเดิม ส่งผลถึงการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทางพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ด้วย เป็นสภาพการณ์ในวิถีปฏิบัติที่มีเรื่องของผลประโยชน์เชิงพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้อง การทำบุญที่เป็นหนึ่งในวิถีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทย จากสิ่งที่เป็นนามธรรมก็สามารถแสดงออกให้เห็นเป็นรูปธรรมผ่านปรากฏการณ์พฤติกรรมที่เรียกว่า “บุญพาณิชย์" ในวิถีปฏิบัติแบบ พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ได้ โดยพฤติกรรมบุญพาณิชย์เป็นเงื่อนไขและพฤติกรรมสำคัญที่เชื่อมโยงและเกื้อหนุนกระบวนการพุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์เข้าด้วยกัน เป็นทั้งเหตุและผลของวิถีปฏิบัติพุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์อีกทั้งมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะของแบบแผนวิถีการได้มาซึ่งบุญ โดยแสดงออกผ่านปัจจัยสนับสนุนส่งเสริมชี้วัดความเป็นพาณิชย์ที่สำคัญ 5 ประการ คือ (1) กิจกรรมหรือพิธีกรรม (2) สถานที่ประกอบกิจกรรม (3) บุคคลในกิจกรรม (4) ราคา ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม และ (5) แผนการตลาด ซึ่งวิถีปฏิบัติภายใต้ความเชื่อความศรัทธาดังกล่าว เมื่อพิจารณาจากหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาย่อมไม่สามารถหาคำอธิบายได้อย่างชัดเจน ดังนั้นการอธิบายด้วยแนวคิด “พุทธศาสนาเชิงปฏิบัติ" จึงเป็นแนวทางที่สามารถเชื่อมโยงถึงวิถีปฏิบัติทางศาสนาและปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ที่มีรากฐานสำคัญมาจากความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากวิถีการดำเนินชีวิตทางโลกแบบท้องถิ่นที่ไม่ได้ตรงตามตำราคำสอนทางพุทธศาสนา แต่เป็นวิถีปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงท่ามกลางความเชื่อ ความศรัทธาต่างๆ ภายใต้บริบทของวิถีชีวิตประจำวันของพุทธศาสนิกชน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of the research were 1) to study the assimilation of Buddhism and Superstition in ways of life and practice among Thai Buddhist, and 2) to study the relevance between Meritorious Commercial behaviors with Superstitious and Buddhist Commercials in Thai Practical Buddhism. In the field, qualitative research methodology was taken; the participant observation and in-depth interviews were techniques to collect data from Buddhist monks and Laymen in two temples of Nakhon Pathom province; 1) Wat Rai Khing, and 2) Wat Pai Lom. Moreover, Thai Practical Buddhism concept in Thai context related to Buddhism, Superstition, faith and belief, and the ways of practice among Thai Buddhist were studied by documentary research to interpret collected data from the field research. The findings show that the ways of life among Thai Buddhist comprise of basic beliefs - spirit, sacred item, supernatural, Brahminism and Buddhism - adjusting along their history, and becoming Superstition finally. Time passes, social change makes the Superstition assimilate to religious practices and ways of practice among Thai Buddhist. In addition, the impacts of capitalism and consumerism bring greatly changes and lead commercial interest to the ways of life and practice, also beliefs. Merit in form of abstraction is able to be transformed into concrete by “Meritorious Commercial" concept supported by Buddhism and Superstitious Commercial process. As a matter of fact, Meritorious Commercial is an important condition which makes Buddhism and Superstitious Commercial blend together. In the work, five indicators defining commercialization were brought to analyze how commercial it is; 1) Product, 2) Place, 3) People, 4) Price, and 5) Promotion. However, it is found that the main teachings of Buddhism, may not explain real phenomena clearly. The Thai Practical Buddhism concept, emphasizing on the relevance of the ways of practice, socio-cultural issue, local wisdom and local experience related to Buddhism, thus, may explain it more obliviously.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ภวคุณวรกิตติ์, ภณกุล, "พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย : กรณีศึกษาวัดในจังหวัดนครปฐม" (2012). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 17887.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/17887