Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การวิเคราะห์ปริมาณการใช้พลังงานและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อการผลิตไบโอดีเซล (บี 100) จากปาล์มน้ำมัน : กรณีศึกษาตัวอย่างสวนปาล์มน้ำมัน โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และโรงผลิตไบโอดีเซลของประเทศไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Analysis of energy consumption and ghg emission in biodiesel (B100) production from oil palm : a case study of oil palm plantation , crushing mill and biodiesel plant in Thailand
Year (A.D.)
2012
Document Type
Thesis
First Advisor
สุภวัฒน์ วิวรรธ์ภัทรกิจ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
DOI
10.58837/CHULA.THE.2012.1776
Abstract
การศึกษานี้เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการผลิตไบโอดีเซล (บี 100) จากสวนปาล์มน้ำมัน โรงสกัดน้ำมันปาล์ม และโรงผลิตไบโอดีเซลในจังหวัดตรัง กระบี่ และชุมพร ตั้งแต่การเพาะปลูก กระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มดิบ จนถึงการผลิตไบโอดีเซล โดยใช้ข้อมูลกิจกรรมการใช้ทรัพยากร พลังงานที่ใช้ และของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตที่พิจารณากิจกรรมเฉลี่ยทั้งปีจากการใช้และการปลดปล่อยภายในสวนปาล์มน้ำมัน โรงสกัดน้ำมันปาล์ม และโรงผลิตไบโอดีเซลเท่านั้น ทั้งนี้ อาศัยวิธีการคำนวณโดยนำค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกคูณกับข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น พบว่า หากไม่พิจารณาการดูดซับคาร์บอนสุทธิ จะมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสวนปาล์มน้ำมันโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.11 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อตันทะลายปาล์มน้ำมัน และมีปริมาณการปลดปล่อยเฉลี่ยของโรงสกัดน้ำมันปาล์มจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มดิบเท่ากับ 0.82 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อตันน้ำมันปาล์มดิบ และโดยเฉลี่ยแล้วการผลิตไบโอดีเซล (บี 100) มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 1.10 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไบโอดีเซล 1 ลิตร แต่หากพิจารณาการดูดซับคาร์บอนสุทธิ จะมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสวนปาล์มน้ำมัน โรงสกัดน้ำมันปาล์ม และโรงผลิตไบโอดีเซลโดยเฉลี่ยเท่ากับ -0.54 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อตันทะลายปาล์มน้ำมัน -2.88 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อตันน้ำมันปาล์มดิบ และ -2.29 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไบโอดีเซล 1 ลิตร ทั้งนี้ หากมีการนำของเสียหรือเศษเหลือจากกระบวนการผลิตไปใช้ประโยชน์ใหม่ อาทิ ทางใบปาล์มน้ำมันเพื่อทำปุ๋ย น้ำเสียเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า จะสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The biodiesel (B100) production starting from the plantation, crushing mill and biodiesel plant can generate high amount of Greenhouse Gas (GHG) emission which is harmful to the global environment. To reduce the GHG emission, an efficient managing strategy of the entire production process must be introduced. This paper presents a case study of the GHG emission analysis in Trang, Krabi and Chumporn province in 2013. The entire year data of each activity such as amount of energy, fertilizer and herbicides used, main product, residues produced in oil palm plantation, milling and biodiesel plant were analyzed and calculated by the basis of Gate to Gate. The result shows that the production process in the plantation generates the GHG emission which is excluded the net assimilation of oil palm of 0.11 ton CO₂e /ton FFB while the GHG emitted from the crushing mill is at 0.82 ton CO₂e /ton RPO and from the biodiesel plant is at 1.10 kg CO₂e /liter B100. And if the GHG emission which is calculated with the net assimilation of oil palm, the results shows that the plantation, crushing mill and biodiesel plant generates the GHG emission of -0.54 ton CO₂e /ton FFB, -2.88 ton CO₂e /ton RPO and -2.29 kg CO₂e /liter B100, respectively. These calculated values show that the biodiesel production can alleviate the greenhouse effect. If the bio solid residues are used as a mixture for fertilizer and the wastewater is used to produce the biogas to generate electricity, the GHG emission can then be reduced.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
แสงสอาด, อรุณสุข, "การวิเคราะห์ปริมาณการใช้พลังงานและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อการผลิตไบโอดีเซล (บี 100) จากปาล์มน้ำมัน : กรณีศึกษาตัวอย่างสวนปาล์มน้ำมัน โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และโรงผลิตไบโอดีเซลของประเทศไทย" (2012). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 17869.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/17869