Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การรับรู้ภัยคุกคามทางเพศและการป้องกันตนเองของพนักงานสตรีที่ทำงานกะกลางคืน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Perceptions and self-prevention from sexual harassment of female night shift workers
Year (A.D.)
2011
Document Type
Thesis
First Advisor
อุษณีย์ พึ่งปาน
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เพศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2011.2148
Abstract
สำรวจพฤติกรรมที่พนักงานสตรีที่เลิกงานในเวลากลางคืนรับรู้ว่าเป็นการคุกคามทางเพศ ประสบการณ์ถูกคุกคามทางเพศ และการป้องกันตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ พนักงานสตรีที่ทำงานและเลิกงานตั้งแต่เวลา 18.00-06.00 น. ของบริษัทสื่อสารโทรคมนาคม 3 แห่ง จำนวน 327 คน เก็บข้อมูลโดยการให้พนักงานสตรีตอบแบบสอบถามเรื่องความรู้ ประสบการณ์ถูกคุกคามทางเพศ และพฤติกรรมป้องกันตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคว์สแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า พนักงานสตรีที่อายุ 20-24 ปีมีพฤติกรรมป้องกันตนเองมากที่สุด พนักงานสตรีรับรู้รูปแบบพฤติกรรมคุกคามทางเพศทั้ง 3 ด้าน โดยรูปแบบการคุกคามทางเพศที่พนักงานสตรีถูกคุกคามมากที่สุด ได้แก่ การถูกลูบไล้เนื้อตัว จับมือถือแขน เบียดเสียดร่างกาย สำหรับการคุกคามโดยแสดงสัญลักษณ์ที่พนักงานสตรีถูกคุกคามมากที่สุด ได้แก่ มีผู้คุกคามมายืนดักรออยู่เป็นประจำ การถูกจ้องมอง ใช้สายตาแทะโลมเป็นเวลานาน และพนักงานสตรี 1 คนเคยถูกใช้กำลังบังคับเพื่อมีเพศสัมพันธ์ พนักงานสตรีมีพฤติกรรมป้องกันตนเอง โดยปฏิเสธการอยู่กับผู้ชายสองต่อสองในที่ลับตา
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To examine behaviors perceived by night shift female workers as sexual threat, sexual harassment experience, and self-protection. The sample group includes 327 female workers in Telecommunication Company, who work during 18.00-06.00 hours. The information was collected by asking female workers to answer the questionnaire about knowledge, sexual harassment experience, and self-protection behavior. The information was analyzed by using descriptive statistic, chi-square test, and content analysis. About the result, it was found that female workers at the age of 20-24 years had highest self-protection behavior. Female workers perceived sexual threat behavior in 3 aspects. Sexual threat form mostly experienced by female workers includes touching, holding hand, and bumping. Symbolic threat mostly experienced by female workers includes being stalked, being stared for a long time, and one of female workers was forced to have sex. Female workers defend themselves by avoid being with man at blind spot.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
แผลงศร, เฟื่องลดา, "การรับรู้ภัยคุกคามทางเพศและการป้องกันตนเองของพนักงานสตรีที่ทำงานกะกลางคืน" (2011). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 17712.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/17712