Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การหมักร่วมของขยะเศษอาหารกับกากตะกอนน้ำเสียชุมชนโดยใช้ถังหมักไร้อากาศแบบสองขั้นตอนสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Co-digestion of food waste and sewage sludge by two-stage anaerobic digester for biogas production
Year (A.D.)
2010
Document Type
Thesis
First Advisor
ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2010.2182
Abstract
การหมักร่วมของขยะเศษอาหารกับกากตะกอนน้ำเสียชุมชน โดยใช้ถังหมักไร้อากาศแบบสองขั้นตอนสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพ ประกอบด้วยถังหมักกรด และถังหมักก๊าซ โดยแบ่ง การทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การทดลองเพื่อศึกษาผลของอัตราส่วนของขยะเศษอาหารกับ กากตะกอนน้ำเสียชุมชนในระดับห้องปฏิบัติการ และการศึกษาผลของระยะเวลากักพักทาง ชลศาสตร์ในระดับภาคสนาม ผลการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ ที่อัตราส่วน 1:1 3:1 5:1 7:1 และขยะเศษอาหาร เพียงอย่างเดียว พบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีมีค่าอยู่ระหว่าง 87.99-90.37 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งทั้งหมดมีค่าอยู่ระหว่าง 68.87-74.83 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งระเหยทั้งหมดมีค่าอยู่ระหว่าง 70.09-77.89 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งแขวนลอยมีค่าอยู่ระหว่าง 71.27-81.96 เปอร์เซ็นต์ โดยที่อัตราส่วน 7:1 มีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีสูงที่สุดเท่ากับ 90.37 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณก๊าซชีวภาพทั้งหมดเท่ากับ 1,504 มิลลิลิตรต่อวัน โดยมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทน 60.4 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลการทดลองในระดับภาคสนามโดยใช้อัตราส่วนของขยะเศษอาหารกับกากตะกอนน้ำเสียชุมชน 7:1 ที่ระยะเวลากักพักทางชลศาสตร์ 24 19 และ 16 วัน พบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีมีค่าอยู่ระหว่าง 85.42-88.67 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งทั้งหมดมีค่าอยู่ระหว่าง 68.03-73.11 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งระเหยทั้งหมดมีค่าอยู่ระหว่าง 71.03-73.68 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งแขวนลอยมีค่าอยู่ระหว่าง 69.52-71.94 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ระยะเวลากักพักทางชลศาสตร์ 24 วัน มีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีสูงที่สุดเท่ากับ 88.67 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณก๊าซชีวภาพทั้งหมดเท่ากับ 1,029.17 ลิตรต่อวัน โดยมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทน 64.3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่ระยะเวลากักพักทางชลศาสตร์ 12 วัน มีประสิทธิภาพกำจัดซีโอดี 87.40 เปอร์เซ็นต์ แต่มีปริมาณก๊าซชีวภาพทั้งหมดสูงสุดเท่ากับ 1,704.59 ลิตรต่อวัน โดยมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทน 48.4 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Co-digestion of Food Waste and Sewage Sludge by Two-stage Anaerobic Digester for Biogas Production. Two-stage system are acid phase reactor and methane phase reactor. This research has been studied ratios of food waste with wastewater sludge (FW/WS) in laboratory scale prior to starting at hydraulic retention time (HRT) our pilot-scale system. The results FW/WS ratios of 1:1 3:1 5:1 7:1 and food waste only in lab scale showed that efficiency of chemical oxygen demand (COD) removal was in the range of 87.99-90.37 percents, total solids (TS) removal was in the range of 68.87-74.83 percents, total volatile solids (TVS) removal was in the range of 70.09-77.89 percents and suspended solids (SS) removal was in the range of 71.27-81.96 percents. At FW/WS ratio 7:1 gave highest efficiency of COD removal was 90.16 percents. Total gas production was 1,504 ml/d and percentage of methane content was 60.4 percents. Pilot-scale system, When decreasing hydraulic retention time (HRT) of 24 19 and 16 days. The results show that efficiency of COD removal was in the range of 85.42-88.67 percents, TS removal was in the range of 68.03-73.11 percents, TVS removal was in the range of 71.03-73.68 percents and SS removal was in the range of 69.52-71.94 percents. At HRT 24 days gave highest efficiency of COD removal was 88.67 percents. Total gas production was 1,029.17 l/d and percentage of methane content was 64.3 percents. AT HRT of 12 days efficiency of COD removal was 87.40 percents. But gave the highest of total gas production 1,704.59 l/d. and percentage of methane content was 48.4 percents.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วัฒนยมนาพร, อรวรรณ, "การหมักร่วมของขยะเศษอาหารกับกากตะกอนน้ำเสียชุมชนโดยใช้ถังหมักไร้อากาศแบบสองขั้นตอนสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพ" (2010). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 17585.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/17585