Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาอุปกรณ์นำทางที่ใช้แสง เสียงและสั่นกระตุ้นเพื่อพัฒนาการเดิน ของผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยใช้เครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหว

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The study of cueing device using visual, auditory and somatosensory stimuli for improving gait in parkinson patients by motion analysis machine

Year (A.D.)

2009

Document Type

Thesis

First Advisor

อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา

Second Advisor

มานะ ศรียุทธศักดิ์

Third Advisor

โรคพาร์กินสัน

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมชีวเวช

DOI

10.58837/CHULA.THE.2009.2143

Abstract

งานวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสิ่งกระตุ้นด้วยแสง เสียงและสั่นใน ระหว่างเดินในผู้ป่วยพาร์กินสัน อุปกรณ์ช่วยนำทางในการเดินได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ อุปกรณ์นี้ประกอบไปด้วยสามส่วนหลักได้แก่ ส่วนของแสง เสียง และสั่น ส่วนของแสงที่ใช้เป็น สิ่งกระตุ้นทางสายตา เมื่อกดสวิตซ์จะมีแสงในแนวนอนฉายไปบนพื้น โดยแสงที่เป็นเสันเกิดจาก เส้นใยนำแสง ส่วนของเสียงและสั่นที่ใช้เป็นสิ่งกระตุ้นทางการได้ยินและทางสัมผัสจะทำงานเป็น จังหวะที่ 100 ครั้งต่อนาที ผู้ป่วยพาร์กินสันจำนวน 19 คนได้เข้าร่วมในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้ป่วยจะ ทำการเดินด้วยความเร็วปกติบนทางเดินยาว 10 เมตร โดยจะทำการทดสอบ 8 เงื่อนไขด้วยกัน ได้แก่ เดินโดยไม่ใช้สิ่งกระตุ้น เดินโดยใช้สิ่งกระตุ้นแสง เดินโดยใช้สิ่งกระตุ้นเสียง เดินโดยใช้สิ่งกระตุ้นสั่น เดินโดยใช้สิ่งกระตุ้นแสงและเสียงร่วมกัน เดินโดยใช้สิ่งกระตุ้นแสงและสั่นร่วมกัน เดินโดยใช้สิ่งกระตุ้น เสียงและสั่นร่วมกัน และเดินโดยใช้สิ่งกระตุ้นแสง เสียงและสั่นพร้อมกันหมด การศึกษาครั้งนี้จะใช้ เครื่อง RS footscan เก็บข้อมูลพารามิเตอร์ในการเดินต่างๆเช่น ความเร็วในการเดิน ระยะก้าวในการ เดิน จำนวนก้าวในการเดิน และ ช่วงเวลาที่เท้าทั้งสองแตะพื้นพร้อมกันในระหว่างเดิน ผลการศึกษา พบว่า สิ่งกระตุ้นทั้งสามอย่างที่ทดสอบไป 7 เงื่อนไข เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินโดยไม่ใช้สิ่งกระตุ้น แล้ว ความเร็วในการเดิน ระยะการก้าวเดิน จำนวนก้าวในการเดิน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ช่วงเวลาที่เท้าทั้งสองแตะพื้นพร้อมกันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ด้วยเช่นกัน สรุปผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า สิ่งกระตุ้นสามารถช่วยทำให้ผู้ป่วยเดินได้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผลระยะสั้น ควรมีการศึกษาผลระยะยาวในกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่านี้ใน อนาคต

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study is to examine the effect of cueing device using visual | auditory and somatosensory stimuli during walking in Parkinson’s disease patients.Cueing device is developed for this study. This device consists of 3 parts; Light sound and vibration parts. All parts can work separately. A laser with a switch projecting the transverse line by using fiber optic is used for the visual part. Both sound and vibration generated a rhythm by using microcontroller at fix frequency 100 beats/min are used for auditory and somatosensory parts. 19 Subjects were asked to walk along 10m walkway in their own normal speed with 8 trials. Each trial was done 3 times. 8 trials were performed by following this order: (1) Baseline, (2) Visual cue,(3) Auditory cue,(4) Somatosensory cue,(5) Visual and Auditory cue, (6) Visual and Somatosensory cue,(7) Auditory and Somatosensory cue, and (8) Visual 1 Auditory and Somatosensory cue.RS footscan was used to collect gait parameters; walking speed, stride length, cadence and double support time. The main finding is that all 3 cues (visual, auditory and somatosensory) with 7 trials compared with baseline significantly increased walking speed, stride length and cadence (p<0.05). In addition, all cues also significantly decreased double support time (p<0.05). In conclusion, all cues can improve gait of Parkinson's disease patients. However this is a short-term study, long-term study with more patients need to be done in the future.

Share

COinS