Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจบุคคลให้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา ณ พุทธมณฑล
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
COMMUNICATION STRATEGIES TO PERSUADE PEOPLE FOR VISITING THE BUDDHIST MUSEUM AT BUDDHAMONTHON
Year (A.D.)
2014
Document Type
Thesis
First Advisor
ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การจัดการทางวัฒนธรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2014.1861
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจบุคคลให้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา ณ พุทธมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารพุทธมณฑล บุคลากรของพิพิธภัณฑ์ และประชาชนทั่วไปในพุทธมณฑล จำนวน 7 คน และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชาชนทั่วไปทั้งในและนอกพุทธมณฑล จำนวน 400 คน ผลงานวิจัยพบว่ากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ผู้ที่สนใจในพระพุทธศาสนาเข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา ณ พุทธมณฑล และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ กลยุทธ์ดังกล่าว ประกอบด้วยกลยุทธ์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ กลยุทธ์การสร้างสาร และกลยุทธ์การเข้าถึงผู้รับสาร ดังนี้ กลยุทธ์การสร้างสาร ประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่ 1. การสร้างแรงจูงใจในสารเพื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม 2. การสอดแทรกแนวคิดในสารที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับสาร 3. การสร้างเรื่องราว หรือสีสันที่มีชีวิตให้พิพิธภัณฑ์เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ 4. การนำเสนอสารเฉพาะด้านที่ดีหรือเป็นจุดแข็งของพิพิธภัณฑ์ 5. การนำเสนอสารให้เห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา สำหรับกลยุทธ์การเข้าถึงผู้รับสาร ประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่ 1. การสร้างกระแสหรือโฆษณาแบบปากต่อปาก 2. การเลือกใช้สื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนและรวดเร็ว 3. การจัดกิจกรรมที่ตรงตามความสนใจของบุคคลแต่ละกลุ่ม 4. การบูรณาการความร่วมมือเครือข่ายเพื่อเพิ่มโอกาสและช่องทางในการสื่อสาร 5. การนำวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนารูปแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า การนำกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจไปประยุกต์ใช้ ควรพัฒนาควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นระบบและยั่งยืน เพื่อให้พิพิธภัณฑ์มีความพร้อมในการเปิดให้บริการ และรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของบุคคลที่สนใจมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aims to study communication strategies to persuade the public to visit the Buddhist Museum at Buddhamonthon, Nakorn Pathom, Thailand. This study is both a quantitative and qualitative research. The data were collected using interviews and questionnaires. Seven interviewees included the Executive of Buddhamonthon, Museum Officers, and the public visitors in Buddhamonthon area. For quantitation, a questionnaire was distributed to the public both in and outside of Buddhamonthon area (n=400). Results showed that persuasive communication strategy is an important tool to persuade people for visiting the Buddhist Museum at Buddhamonthon as well as participate in activities organized by the museum. Two important strategies are “Message Construction Strategy" and “Approaching Target Audience Strategy". The Message Construction Strategy is composed of five components: 1.) Creating an appealing message to appeal to their emotion, 2.) Inserting thoughtful message that is receptive of the audience’s needs, 3.) Story telling or attractiveness that increase the interest of the museum, 4.) Deliver positive or strength of the museum, and 5.) Deliver the message that emphasize the value of Buddhism. The Approaching Target Audience Strategy also has five components: 1.) Create a viral scheme or advertisement using word of mouth, 2.) Selecting appropriate media that clearly and rapidly reach the target audience, 3.) Organize activities that meet the need of various target groups, 4.) Integrate and cooperate with the network in order to increase opportunity and channel of communication, and 5.) Employ and apply various methods of disseminating Buddhist doctrine. This study also found that by using various communication strategies to appeal to the audience, the usage should be developed in concomitant with a systematic and sustainable museum management scheme. The museum should be ready for service and receptive of the increase demand of those who are interested in visiting the museum.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ฐิติยาภรณ์, เพชรดา, "กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจบุคคลให้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา ณ พุทธมณฑล" (2014). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 17215.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/17215