Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
รอยโรคไลเคนอยด์ในช่องปากและซีรัมแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดีในผู้ป่วยไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Oral lichenoid lesions and serum antinuclear antibodies in Thai patients
Year (A.D.)
2013
Document Type
Thesis
First Advisor
กอบกาญจน์ ทองประสม
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เวชศาสตร์ช่องปาก
DOI
10.58837/CHULA.THE.2013.1780
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถี่ในการให้ผลบวก รูปแบบการติดสีเรืองแสงและระดับไตเตอร์ของซีรัมแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดี ในกลุ่มผู้ป่วยไลเคนอยด์ในช่องปากสาเหตุจากยาและกลุ่มผู้ป่วยไคเคน แพลนัสในช่องปากในผู้ป่วยคนไทย เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ กลุ่มศึกษาประกอบด้วยกลุ่มผู้ป่วยไลเคนอยด์ในช่องหากสาเหตุจากยาจำนวน 20 ราย กลุ่มผู้ป่วยไลเคน แพลนัสในช่องปาก จำนวน 22 ราย และกลุ่มควบคุม จำนวน24 ราย ผู้ป่วยทุกรายมีการยืนยันการวินิจฉัยทางคลินิกและผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยาตรวจหาซีรัมแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดีด้วยวิธีอิมมูโนฟลูออเรสเซ็นต์ทางอ้อม โดยใช้ HEp-2 cells เป็นซับสเตรท กำหนดเกณฑ์ไตเตอร์ระดับต่ำ (1:40-1:80) ระดับกลาง (1:160-1:320) และระดับสูง (>1:640) พบว่าผลบวกต่อซีรัมแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดีในกลุ่มผู้ป่วยไลเคนอยด์ในช่องปากสาเหตุจากยา กลุ่มผู้ป่วยเลเคน แพลนัสในช่องปาก และกลุ่มควบคุม คือ ร้อยละ 70, 72.73 และ 25 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยที่ให้ผลบวกต่อซีรัมแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดีทั้งสองกลุ่มศึกษามีมากกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.01) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผลบวกต่อซีรัมแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดีระหว่ากลุ่มผู้ป่วยไลเคนอยด์ในช่องปากสาเหตุจากยา และกลุ่มผู้ป่วยไลเคน แพลนัสในช่องปาก (P>0.05) รูปแบบการติดสีเรืองแสงชนิดสเป็กเคิลและไตเตอร์ระดับต่ำพบมากที่สุดในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม พบมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05 และ P<0.01 ตามลำดับ) ผู้ป่วยไลเคนอยด์ในช่องปากสาเหตุจากยาที่ให้ผลบวกต่อซีรัมแอนตินิวเคลียร์บอดีส่วนใหญ่รับประทานยาลดไขมันในเลือดและยาลดความดันโลหิตสูง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแรกที่บ่งชี้ให้เห็นว่าซีรัมแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดีมีความสัมพันธ์กับโครไลเคนอยด์ในช่องปากสาเหตุจากยา และโรคไลเคน แพลนัสในช่องปากในผู้ป่วยคนไทย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this study were to study for the frequencies, immunofluorescence staining patterns and titer levels of serum antinuclear antibodies (ANA) in oral lichenoid drug reaction (OLDR) and oral lichen planus (OLP) in Thai patients compared with the healthy control group. The study groups comprised of 20 Thai OLDR cases, 22 OLP cases and 24 healthy control subjects. All patients were confirmed diagnosis by clinical appearance and histopathological examination. Serologic investigation by indirce immunofluorescence technique using HEp-2 cells as substrate to identify ANA under immunofluorescence microscope. The titers of serum ANA were defined as low (1:40-1:80), medium (1:160-1:320) and high (<1:640). The results showed that serum ANA positive in OLDR, OLP and healthy control subjects were 70%, 72.73% and 25%, respectively. Serum ANA positive in study groups were significantly higher than in healthy control (P<0.01). The results did not show statistically significant difference between serum ANA positive in OLDR and OLP groups (P>0.05). Speckled pattern and low titers were the most commonly found in both OLP and OLDR groups and were significantly higher than control group (P<0.05 and P<0.01, reapectively). Patients in OLDR group with serum ANA positive were commonly taking hypolipidemic drugs and anti-hypertensive drugs. This is the first study that indicates serum ANA has an association with OLDR and OLP in Thai patients.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พฤกษ์ตรากุล, ชลากร, "รอยโรคไลเคนอยด์ในช่องปากและซีรัมแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดีในผู้ป่วยไทย" (2013). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 17064.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/17064