Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

La fonction de l'objet dans trois oeuvres romanesques d'alain robbe-grillet : "les gommes", "le voyeur", et "la jalousie"

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

บทบาทของวัตถุนิยมในนวนิยายสามเรื่อง ของอะแลง รอบบ์-กรีเย่ต์ : "เลอวัวเยอร์" และ "ลาชาลูซี"

Year (A.D.)

1983

Document Type

Thesis

First Advisor

Pia Pierre

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

Master of Arts

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

French

DOI

10.58837/CHULA.THE.1983.635

Abstract

ในขณะที่ศึกษาผลงานซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยายประเภท “นูโวโรมอง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวนิยายของ อะแลง รอบบ์-กรีเย่ต์ นี้เราจะกล่าวได้เลยว่า “ผู้เล่า" ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่วัตถุโดยจะพรรณนาอย่างละเอียด และแม้แต่กับวัตถุที่เราคิดว่า ไม่สำคัญ เช่น เสาหลักกิโลเมตร หรือทุ่นใช้สำหรับผูกเรือในเรื่อง “เลอวัวเยอร์" เนื่องจากว่าวัตถุเหล่านั้นปรากฏต่อสายตาของ “ผู้เล่า" เพราะความคิดที่ค่อนข้างพิเศษเรื่องวัตถุนี้ และเพราะการริเริ่มใช้เทคนิคใหม่ ๆ เช่น เทคนิคการพรรณนาเชิงปรนัย และเชิงเรขาคณิต นวนิยายของรอบบ์-กรีเย่ต์จึงทำให้ผู้อ่านเข้าไม่ค่อยถึง และบางครั้งยังถูกตีความไขว้เขวไปอีกจากนักวิจารณ์ที่เชื่อว่าได้เห็นแต่การพรรณนาพื้นผิว (ของวัตถุ) ในนวนิยาย ค่าของวัตถุในงานของรอบบ์-กรีเย่ต์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่เป็นเพียงปรากฏการณ์เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทอีกด้วย วัตถุที่ “ผู้เล่า" เล่าซ้ำไปซ้ำมาสามารถใช้เป็นสิ่งสนับสนุนอารมณ์ของตัวละครและสะท้อนให้เห็นแก่นเรื่องได้ ยางลบในเรื่อง “เลส์กอมม์" นำไปสู่เรื่อง โอดิปุส (Oedipe-Roi) เส้นเชือกในเรื่อง “เลอวัวเยอร์" สะท้อนให้เห็นจิตวิปริตของมาทิแอสในขณะที่ตัวตะขาบในเรื่อง “ลาชาลูซี" สะท้อนให้เห็นความหมกมุ่นของ “ผู้เล่า" ที่กลัวว่าภรรยาจะมีความสัมพันธ์จริง ๆ กับแฟรงค์เพื่อนบ้าน วัตถุทั้งสามนี้แสดงให้เห็นการใช้ประโยชน์อย่างใหม่จากวัตถุที่จะช่วยให้งานของรอบบ์-กรีเย่ต์เข้าถึงความสมจริงแบบใหม่โดยอาศัยความเป็นจริงของวัตถุ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

En nous penchant sur des oeuvres considerees comme faisant partie du “nouveau roman", en particulier les romans d’Alain Robbe-Grillet, nous constatons que le WnarrateurW donne une importance particuliere aux objets en les decrivant avec minutie, et insistence meme en ce qui concerne les choses que l’on considere banales comme la borne kilométrique, ou la bouée métallique du “Voyeur", car eles sont là, exposées au regard du “narrateur". Par son concept particulier de l’objet et par l’introduction de techniques nouvelles telle que la description objective et géométrique, les oeuvres de Robbe-Grillet sont peu accessibles au grand public et ont parfois été mal interprétées par les critiques qui n’ont cru y voir qu’une description de surface. La valeur des choses dans l’oeuvre Romanesque de Robbe-Grillet ne se limite pass seulement à l’état de phénomènes, mais a aussi une function. Les objets utilizes par “le narrateur" comme leitmotive peuvent server de support aux passions, et renvoyer aux themes centraux des romans. La gomme dans “Les Gommes" renvoie au theme d’Oedipe-Roi, la cordelette dans “Le Voyeur" au theme du sadism de Mathias, tandis que le mille-pattes à l’obsession du “narrateur" qui craint l’existence d’une relation entre sa fame et Franck, son voisin. Ces trois objets nous montrent l’utilisation nouvelle de l’objet qui permet à l’oeuvre de Robbe-Grillet de participer au nouveau realism, (celui de l’objet), aux dépens de la réalité des objets.

Share

COinS