Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การวิเคราะห์เนื้อหาด้านวัฒนธรรมไทยจากหนังสือสำหรับเด็ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2524
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A content analysis of Thai culture in children's books 1979 - 1981
Year (A.D.)
1983
Document Type
Thesis
First Advisor
กล่อมจิตต์ พลายเวช
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
DOI
10.58837/CHULA.THE.1983.551
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาด้านวัฒนธรรมไทย เรื่อง ชีวิตในครอบครัว อาชีพ การเล่น เทศกาลและพิธีการ และวรรณกรรมพื้นบ้าน (ได้แก่ นิทานพื้นบ้าน บทเห่กล่อม เพลงกล่อมเด็ก สุภาษิต ภาษิต เพลงสวด สำนวน แบบคำประพันธ์ดั้งเดิม เพลงพื้นบ้าน และวิทยาการพื้นบ้าน) จากหนังสือสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี ที่พิมพ์ขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2524 จำนวน 130 เล่ม โดยการวิเคราะห์ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้กำหนดขึ้น วิธีดำเนินการศึกษาวิจัย คือ 1. ศึกษาแนวการวิเคราะห์เนื้อหาวัฒนธรรมไทย จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาสร้างเกณฑ์ในการวิเคราะห์ในแต่ละประเด็น 2. นำเกณฑ์ที่สร้างขึ้นดังกล่าวให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหนังสือสำหรับเด็กและวัฒนธรรมไทย 5 ท่าน พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นเกณฑ์สำหรับการวิเคราะห์ในครั้งนี้ 3. เขียนบรรณนิทัศน์ของหนังสือสำหรับเด็กที่เป็นประชากรในการวิเคราะห์ทั้ง 130 เล่ม 4. วิเคราะห์เนื้อหาด้านวัฒนธรรมไทยจากหนังสือสำหรับเด็กที่เป็นประชากรโดยการหาความถี่ของเนื้อหาจากเกณฑ์ที่ได้จัดทำขึ้น 5. เสนอผลการวิจัยเป็นค่าเฉลี่ยของความถี่และร้อยละเพื่อทราบถึงเนื้อหาวัฒนธรรมไทยที่ปรากฏในหนังสือแต่ละเล่ม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า หนังสือสำหรับเด็กวัย 6-12 ปี ที่พิมพ์ขึ้นในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2524 มีเนื้อหาวัฒนธรรมไทยน้อย และเนื้อหาที่เกี่ยวกับความรักความกตัญญูรู้คุณผู้มีอุปการะในหัวข้อเรื่องชีวิตในครอบครัวมีการกล่าวถึงมากที่สุด ร้อยละ 26.15 ของจำนวนหนังสือทั้งหมดไม่มีเนื้อหาวัฒนธรรมไทยเลย และเนื้อหาที่เกี่ยวกับอาชีพการหาแร่ วัฒนธรรมด้านวรรณกรรมเพลงที่ใช้ประกอบการเล่น เพลงสวด และเพลงพื้นบ้าน ไม่มีหนังสือเล่มใดได้กล่าวถึง ข้อเสนอแนะ 1. หน่วยงานและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับหนังสือสำหรับเด็ก ควรได้วางนโยบายเพื่อให้หนังสือสำหรับเด็กมีส่วนสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยให้เป็นพื้นฐานแห่งความเป็นไทยในอนาคต 2. เนื้อหาที่ควรมีในหนังสือสำหรับเด็กได้แก่ อาชีพการหาแร่ วัฒนธรรมด้านวรรณกรรมเพลงที่ใช้ประกอบการเล่น เพลงสวด และเพลงพื้นบ้าน 3. หนังสือสำหรับเด็กแต่ละเล่มไม่ควรบรรจุเนื้อหาทั้งหมดลงในหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งเพียงเล่มเดียว เพราะอาจจะทำให้กลายเป็นหนังสือที่เป็นการสอน และน่าเบื่อหน่ายในการอ่าน 4. บรรณารักษ์ ผู้ปกครอง ควรสนับสนุนให้เด็กได้อ่านหนังสือสำหรับเด็กให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรมไทยในแง่ต่างๆ มากขึ้น 5. ครูควรจะเลือกหนังสือสำหรับเด็กที่จะเป็นหนังสืออ่านเพื่อความเพลิดเพลิน และมีเนื้อหาวัฒนธรรมไทยให้เด็กอ่าน เพื่อประกอบการเรียนวิชาที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 6. ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการทดสอบทัศนคติของเด็กก่อนและหลังการอ่านหนังสือ เพื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือกับผลของเนื้อหาของหนังสือที่มีต่อเด็ก ควรจะมีการวิจัยต่อจากช่วงระยะเวลาที่ผู้วิจัยศึกษา และควรมีการวิจัยเนื้อหาวัฒนธรรมไทยในด้านอื่น ๆ เช่น ความเชื่อ ศิลปะ วรรณคดี หรือแม้แต่ในเรื่องค่านิยมพื้นฐานสำหรับชาวไทย ตลอดจนการวิจัยเปรียบเทียบวิธีเสนอหนังสือสำหรับเด็กในสมัยเก่ากับสมัยปัจจุบัน ทางด้านวัฒนธรรมไทย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ตรีโลจน์วงศ์, นุชรี, "การวิเคราะห์เนื้อหาด้านวัฒนธรรมไทยจากหนังสือสำหรับเด็ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2524" (1983). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 16724.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/16724