Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อิทธิพลของเวลากักน้ำที่มีต่อการทำงานของระบบเอสบีอาร์ แบบไม่มีการระบายตะกอนทิ้ง

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of hydraulic deteention times on performance of a semi-batch reactor without excess sludge wastage

Year (A.D.)

1983

Document Type

Thesis

First Advisor

มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

DOI

10.58837/CHULA.THE.1983.475

Abstract

การวิจัยถึงการทำงานของระบบเอสบีอาร์นี้เริ่มทำการทดลองเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2524 จนถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2525 โดยได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ชุด ชุดละ 6 การทดลองย่อย น้ำเสียที่ใช้เป็นน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีค่าซีโอดี 1000, 2000 และ 3000 มก/ล ตามลำดับ ถังปฏิกิริยาที่ใช้เป็นถังแก้วใสรูปทรงกระบอก มีเวลากักน้ำ 3, 5, 7, 9, 11และ 13 วันตามลำดับ การทดลองชุดที่ 1 ใช้น้ำเสียที่มีค่าซีโอดี 1000 มก/ล แต่ละถึงมีเวลากักตะกอย (ec) 30, 50, 70, 90, 110 และ 130 วัน ตามลำดับ จากการหาค่าพารามิเตอร์ทางจลศาสตร์ (Kinetic Parameter) แล้วพบว่ายีลด์ที่แท้จริง (Yg) เท่ากับ 0.149 และอัตราจำเพราะของการสลายตัวของจุลชีพ (b) เท่ากับ 0.007 ต่อวัน ระบบฯมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีร้อยละ 97-98 และน้ำทิ้งที่ระบายออกจากระบบมีตะกอนแขวนลอยต่ำ การทดลองชุดที่ 2 และ 3 ใช้น้ำเสียที่มีค่าซีโอดี 2000 และ 3000 มก/ล ตามลำดับ โดยได้พยายามควบคุมให้ทุกถังมีเวลากักตะกอนสูงที่สุด จากการหาค่าพารามิเตอร์ทางจลน์ศาสตร์พบว่าค่า b/Yg เท่ากับ 0.0771 ต่อวัน ความเข้มข้นของตะกอนจุลชีพแปรผกผันกับเวลากักน้ำที่เปลี่ยนไป ระบบฯมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีร้อยละ 98 และน้ำทิ้งที่ระบายออกจากระบบมีตะกอนแขวนลอยต่ำ ระบบเอสบีอาร์เป็นระบบกำจัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพสูงและควบคุมง่ายจึงเหมาะสำหรับแหล่งน้ำเสียที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เช่น แหล่งชุมชนขนาดเล็ก, โรงพยาบาลและโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นต้น

Share

COinS