Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การประเมินผลการเปลี่ยนแปลงภายหลังการดำเนินการพัฒนาองค์การ ของกองสวนสาธารณะ และกองผังเมือง กรุงเทพมหานคร
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The evaluation of changes after the organization development process at the public park division and the city planning division of the Bangkok metrolitan administration
Year (A.D.)
1983
Document Type
Thesis
First Advisor
สมบูรณ์ ผดุงเจจริญ
Second Advisor
ณัฐดนัย อินทรสุขศรี
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
DOI
10.58837/CHULA.THE.1983.372
Abstract
กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นองค์การบริหารราชการท้องถิ่นนครหลวงของประเทศไทยได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 และดำเนินการพัฒนาองค์การหน่วยงานในสังกัดมาตั้งแต่พ.ศ. 2518 แต่ยังมิได้มีการประเมินผลอย่างเป็นระบบแก่หน่วยงานที่ได้พัฒนาไปแล้ว วิทยานิพนธ์นี้เป็นการประเมินผลการพัฒนาองค์การ 2 หน่วยงาน คือ กองผังเมือง และกองสวนสาธารณะ ซึ่งแต่ละกองได้ดำเนินการสัมมนาเพื่อพัฒนาองค์การมาแล้ว 3 ครั้ง ความจำเป็นในการพัฒนาองค์การของกองทั้งสองคือ กระบวนการขององค์การ 5 ประการ ซึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงคือ มนุษย์สัมพันธ์ การปรับปรุงงาน การบริหารงาน การประสานงาน และบรรยากาศทั่วไปในสภาพที่ทำงาน การพัฒนาองค์การของหน่วยงานทั้ง 2 กองนี้ใช้ขั้นตอนแตกต่างกัน การประเมินผลของทั้ง 2 กองได้ใช้แบบพิมพ์ในการสำรวจข้อมูล 2 แบบเหมือนกัน แต่ใช้วิธีการสำรวจแตกต่างกัน แบบสำรวจกระบวนการขององค์การใช้แบบเดียวกัน และวิธีเดียวกันคือ ส่วนแบบสอบถาม ส่วนแบบสำรวจเนื้อหาสาระขององค์การใช้แบบเดียวกัน แต่ใช่วิธีการแตกต่างกันคือกองผังเมืองใช้วิธีการสัมภาษณ์ ส่วนกองสวนสาธารณะใช้วิธีการส่งแบบสอบถาม ภาวะสำคัญที่ต้องการทราบมี 2 ประการ ประการแรกได้แก่ภาวการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง หรือการอยู่ในสภาพคงเดิมของกลุ่มต่างๆ ที่จำแนกด้วยตัวคงที่ หรือลักษณะของบุคคล ทั้งนี้เพื่อเน้นในการแก้ไขเป็นรายกลุ่ม ลักษณะที่สองคือ ต้องการทราบว่าองค์การนั้นๆ มีเนื้อหาสาระอยู่ในระบบใด เพื่อการพิจารณาแก้ไขปัญหาทั้งระบบ การวิเคราะห์จำเป็นต้องใช้เทคนิควิธีทางสถิติ เช่น การใช้ตรวจเปรียบเทียบ หรือกราฟ แล้วแต่กรณี ซึ่งในวิทยานิพนธ์นี้ได้แสดงให้เห็นพอสมควรถึงวิธีการ มิได้แสดงทั้งหมดเพราะไม่มีความจำเป็น หากแต่ได้นำเอาข้อสรุปจากเทคนิคต่างๆ นั้นออกมาแสดงให้เห็นทั้งหมด การประเมินผลดังกล่าวนี้ เปรียบเทียบให้เห็นว่าจะใช้ขั้นตอนใดในกระบวนการพัฒนาองค์การก่อนหลังนั้นไม่จำกัดตายตัว แต่ต้องดำเนินการให้ครบขั้นตอนจึงจะทราบผลที่แน่ชัดและในการสำรวจข้อมูลเพื่อประเมินผลจะใช้วิธีใดก็ไม่จำกัด เพียงแต่ให้ได้ข้อมูลที่ต้องการมาโดยครบถ้วน ก็สามารถจะวิเคราะห์และประเมินผลได้ จากผลการศึกษาพบว่า 1. วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การของหน่วยทั้งสองยังบรรลุเป้าหมายไม่ถึงร้อยละ 50 เพราะข้าราชการส่วนมากยังมีความเห็นว่าสภาพขององค์การยังคงเดิม 2. การประเมินผลการพัฒนาองค์การ ยังไม่ได้รับความสนใจทั้งในการกำหนดมาตรฐานของแบบฟอร์ม และวิธีการวิเคราะห์ ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะจัดความเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง 3. การดำเนินการพัฒนาองค์การของกองฝึกอบรม ยังมีอุปสรรคปัญหาเนื่องมาจากคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร นักบริหารระดับสูงสุดของหน่วยงาน และการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พัฒนาองค์การกองฝึกอบรม 4. การดำเนินการพัฒนาองค์การขั้นต่อๆไป ควรเน้นตามผลการวิเคราะห์ของกลุ่ม 5. การพิจารณาความต่อต้านจาก สถานภาพคงเดิมเป็นเกณฑ์วินิจฉัย 6. การพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องใช้การเปรียบเทียบจากตารางวัดผลการเปลี่ยนแปลงเป็นกรณีไป ไม่ควรพิจารณาจากส่วนรวม จุดเด่นของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้คือ การวิเคราะห์รายละเอียดแต่ละเรื่องในรายละเอียดด้วยการจัดทำตารางเฉพาะกรณี และการใช้ภาพบาร์แสดงความแตกต่างของสาระสำคัญ อย่างไรก็ตามผู้เขียนเชื่อว่าวิทยานิพนธ์เรื่องนี้จะมีประโยชน์ และมีค่าต่อการพัฒนาองค์การของกรุงเทพมหานคร และต่อวงการพัฒนาองค์การโดยทั่วไป
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กิตติมานนท์, ศิริพร, "การประเมินผลการเปลี่ยนแปลงภายหลังการดำเนินการพัฒนาองค์การ ของกองสวนสาธารณะ และกองผังเมือง กรุงเทพมหานคร" (1983). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 16712.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/16712