Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาล ตามการรับรู้ของผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการ และพยาบาลเอง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Destrabe characteristics of nurses as perceived by colieagues, clients and themselves
Year (A.D.)
1983
Document Type
Thesis
First Advisor
จินตนา ยูนิพันธุ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
DOI
10.58837/CHULA.THE.1983.30
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการ และพยาบาล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการ พยาบาล และอาจารย์พยาบาล จากโรงพยาบาลของรัฐ ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสร้างขึ้นเอง นำไปหาความตรงตามเนื้อหากับผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าความเที่ยงตามแบบสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ 0.92 ข้อมูลที่ได้นำมามาวิเคราะห์ เพื่อหาค่า อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการพยาบาลและอาจารย์พยาบาล มีการรับรู้ต่อลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาล ด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ และด้านจรรยาบันอยู่ในระดับมากทุกกลุ่ม ยกเว้นผู้ร่วมงานมีการรับรู้ต่อลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาลด้านการปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่าง การรับรู้ของผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการพยาบาล และอาจารย์พยาบาล ต่อลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาล มีดังนี้ 2.1 การรับรู้ด้านการปฏิบัติการพยาบาลของทั้ง 4 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ซึ่งสนองสมมุติฐานในข้อที่ 1 เมื่อทดสอบการเป็นรายคู่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเกือบทุกคู่ ยกเว้นระหว่างผู้บริการกับพยาบาล และระหว่างพยาบาลกับอาจารย์พยาบาล ซึ่งมีการรับรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2 การรับรู้ด้านบุคลิกภาพและมนุษย์สัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ซึ่งไม่สนับสนุนสมมุติฐานในข้อที่ 3 เมื่อทดสอบเป็นรายคู่พบว่า ผู้ร่วมงานและผู้บริการมีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ร่วมงานมีการรับรู้แตกต่างจากพยาบาลและอาจารย์พยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .001 ตามลำดับ ส่วนผู้รับบริการมีการรับรู้แตกต่างจากอาจารย์พยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สำหรับพยาบาลและอาจารย์พยาบาลมีการับรู้ไม่แตกต่างกัน 2.3 การรับรู้ด้านจรรยาบรรณของทั้ง 4 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ซึ่งสนองสมมุติฐานในข้อที่ 2 เมื่อทดสอบการเป็นรายคู่พบว่า ผู้ร่วมงานและผู้บริการมีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ร่วมงานมีการรับรู้แตกต่างจากพยาบาลและอาจารย์พยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .001 สำหรับผู้รับบริการ พยาบาลและอาจารย์พยาบาลมีการรับรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทุกคู่
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สังขมงคล, เพิ่มสุข, "ลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาล ตามการรับรู้ของผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการ และพยาบาลเอง" (1983). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 16706.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/16706