Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความคิดเห็นของครู ผู้บริหารการศึกษา และผู้นำชุมชนเกี่ยวกับบทบาทและการปฏิบัติจริง ของครูในโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทในเขตการศึกษา 7

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Opinions of teachers, educational administrators and community leaders concerning roles and actual performance of the community secondary schools' teachers in educational region seven

Year (A.D.)

1983

Document Type

Thesis

First Advisor

ดวงเดือน พิศาลบุตร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

DOI

10.58837/CHULA.THE.1983.29

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครู ผู้บริหารการศึกษาและผู้นำชุมชนที่มีต่อบทบาทและการปฏิบัติจริงของครูในโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทในด้านการสอนประชาชน และบริการชุมชน 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครู ผู้บริหารการศึกษา และผู้นำชุมชนเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทในด้านการสอนประชาชน และบริการชุมชน วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรในการวิจัย ประกอบด้วย ครูในโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท 150 คน ผู้บริหารการศึกษา 150 คน และผู้นำชุมชน 149 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท ผู้บริหารการศึกษาและผู้นำชุมชนในเขตการศึกษา 7 ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถาม 2 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วยคำถามแบบเติมคำ และแบบมาตราส่วนประเมินค่า ชุดที่ใช้สำหรับครูจะมีคำถามทั้งในด้านบทบาที่คาดหวังและการปฏิบัติจริง ส่วนชุดที่ใช้สำหรับผู้บริหารการศึกษา และผู้นำชุมชน จะมีคำถามเฉพาะบทบาทที่คาดหวังเท่านั้น ข้อมูลที่ได้รับนี้นำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ โดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยการทดสอบแบบเชฟเฟร์ (Scheff-test) ผลการวิจัย 1. ความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาที่คาดหวัง และการปฏิบัติจริงมีความแตกต่างกันทุกกิจกรรมในด้านการสอนประชาชนและบริการชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความคิดเห็นของครู ผู้บริหารการศึกษา และผู้นำชุมชน ที่มีต่อบทบาทที่คาดหวังของครูในโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท แตกต่างกันอยู่ 47 กิจกรรมจาก 54 กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีความคาดหวังสอดคล้องกันในด้านการสอนประชาชน ได้แก่ การจัดอบรมสาธิตแก่ประชาชนในด้านการตัดเย็บเสื้อผ้า และดอกไม้ใบตอง ในด้านการบริการชุมชน ได้แก่ การประสานงานระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ กับประชาชน การจัดสหกรณ์ร้านค้าบริการแก่ชุมชน การเปิดโอกาสให้ประชาชนยืมวัสดุอุปกรณ์บางอย่างในการประกอบอาชีพ การเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สนามกีฬาและอุปกรณ์กีฬาของโรงเรียน และการบริการรับ-ส่งจดหมายของประชาชนในชุมชนนั้น 3. ผู้นำชุมชนและผู้บิหารการศึกษา มีความคาดหวังในบทบาทของครูในด้านการสอนประชาชน และบริการชุมชนสูงกว่าความคาดหวังของตัวครูเอง 4. ครู ผู้บริหารการศึกษา และผู้นำชุมชน มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท เรียงลำดับตามความสำคัญมากไปน้อย ดังนี้ 1. การขาดแคลนด้านเงินงบประมาณที่ใช้สนับสนุนโครงการมีน้อยไม่เพียงพอในการดำเนินงาน 2. การขาดแคลนวัสดุ-อุปกรณ์ที่เป็นเครื่องมือส่งเสริมและสนับสนุนวิชาชีพของประชาชน 3. เวลาของครู ครูมีชั่วโมงสอนมาก สละเวลาออกไปทำกิจกรรมได้น้อย 4. ความแตกต่างในด้านการอ่านการเขียนของประชาชนในชุมชนนั้น 5. การคมนาคมไม่สะดวก ขาดพาหนะในการเดินทาง 6. ภาษาที่ใช้สอน 7. ความไม่ปลอดภัยจากผู้ก่อการร้าย

Share

COinS