Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเสนอโครงการพัฒนาคณาจารย์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการสอน : การศึกษาเฉพาะกรณีมหาวิทยาลัยมหิดล

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A proposed faculty development program for the improvement of the teaching quality : a case study of Mahidol University

Year (A.D.)

1982

Document Type

Thesis

First Advisor

พรชุลี คุณานุกร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อุดมศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1982.281

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.ศึกษาความรู้ความต้องการพัฒนาคณาจารย์ด้านการสอนของผู้บริหารและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหิดล 2. ศึกษาวิธีการและรูปแบบของการพัฒนาคณาจารย์ที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยมหิดล 3. เสนอโครงการพัฒนาคณาจารย์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการสอนที่เหมาะสมกับสภาพมหาวิทยาลัยมหิดล วิธีดำเนินการวิจัย ในการวิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาวิธีการและรูปแบบของการพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาจากเอกสาร ตำรา และสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติภาคฤดูร้อนที่หน่วยพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหน่วยพัฒนาคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขั้นที่ 2 ศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาคณาจารย์ด้านการสอนของมหาวิทยาลัยมหิดล จากเอกสาร รายงาน สัมภาษณ์ผู้บริหารและอาจารย์บางท่านในคณะต่างๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้รวมกับข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 สร้างเป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัย และนำไปเก็บข้อมูลกับผู้บริหารและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหิดล ขั้นที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Social Sciences) โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว หลังจากนั้นนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาออกแบบโครงการพัฒนาคณาจารย์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิจัย 1. ความรู้ความต้องการพัฒนาคณาจารย์ด้านการาสอนของผู้บริหารและอาจารย์ ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า เพศ ประสบการณ์การสอน คณะ และตำแหน่งซึ่งแตกต่างกัน มีความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยที่เพศหญิงมีความรู้น้อยกว่าเพศชาย อาจารย์มีความรู้น้อยกว่าผู้บริหาร ผู้มีประสบการณ์สอน 1-5 ปี มีความรู้น้อยกว่าผู้มีประสบการณ์การสอน 25 ปีขึ้นไป ส่วนคณะ เมื่อทำการทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Schefié’s Method) ไม่พบคู่ของความแตกต่าง และมีความต้องการพัฒนาการสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้นเพศซึ่งแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยที่เพศหญิงมีความต้องการมากกว่าเพศชาย ในการจัดลำดับความรู้ความต้องการของผู้บริหารและอาจารย์ พบว่าคณาจารย์มีความรู้ในเรื่องการประเมินผลากรสอนของอาจารย์เป็นลำดับสุดท้าย และมีความต้องาการเรื่องการวิจัยเพื่อเสริมการสอนเป็นลำดับที่ 1 2. วิธีการและรูปแบบการพัฒนาคณาจารย์ที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิจัยมีข้อค้นพบหลักๆดังนี้ 2.1 ควรมีหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาคณาจารย์โดยตรง มีลักษณะเป็นหน่วยงานกลาง มีคณาจารย์โดยตรง มีลักษณะเป็นหน่วยงานกลาง มีคณาจารย์จากคณะตางๆ ร่วมดำเนินการ และได้รับเงินงบประมาณจากมหาวิทยาลัย 2.2 ขอบเขตการดำเนินงานพัฒนาคณาจารย์ควรเป็นโครงการระยะยาวตามแผนพัฒนาอุดมศึกษาแห่งชาติ หน่วยงานนี้ควรทำหน้าที่บริหารทางวิชาการเพื่อเสริมความรู้และทักษะด้านการสอนและการวิจัยเป็นลำดับที่ 1 รองลงมาคือ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนตำราและบทความทางวิชาการ 2.3 ลักษณะการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคณาจารย์ ชอบที่จะให้มีการจัดในลักษณะที่เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ควรจัดภายในมหาวิทยาลัย เป็นโปรแกรมสั้นๆจัดเฉพาะวันทำงาน 1-2 วัน 2.4 ความคิดเห็นต่อผู้ดำเนินงานพัฒนาคณาจารย์ วิทยากรที่ดำเนินงานพัฒนาคณาจารย์ควรเป็นอาจารย์จากคณะต่างๆที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม หรืออบรมด้านศึกษาศาสตร์มาแล้ว และควรนับงานวิจัยทางการศึกษาเป็นผลงานทางวิชาการ 2.5 ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคณาจารย์ที่พบมากคือ การติดตามผลความสำเร็จในการพัฒนาคณาจารย์ และการสนับสนุนด้านงบประมาณ 3. การเสนอโครงการพัฒนาคณาจารย์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยโครงการย่อย 6 โครงการ ตามลำดับความสำคัญ คือการวิจัยเพื่อเสริมการสอน การประเมินผลการสอนของอาจารย์ หลักสูตรและการดำเนินสอน การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน วัตถุประสงค์ของการศึกษา และผู้เรียนระดับอุดมศึกษา

Share

COinS