Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การติดตามผลบัณฑิตครุศาสตร์วิทยาลัยครูภาคกลาง

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A follow-up study of graduates from Central teachers colleges

Year (A.D.)

1982

Document Type

Thesis

First Advisor

ปทีป เมธาคุณวุฒิ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อุดมศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1982.279

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เมื่อ สำรวจความสามารถในการปฏิบัติงานที่บัณฑิตมี และที่ต้องการในความคิดเห็นของบัณฑิตและผู้บังคับบัญชา และสำรวจสถานที่ที่พัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิต วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นบัณฑิตที่จบจากวิทยาลัยครูภาคกลาง ปีการศึกษา 2521 และปีการศึกษา 2522 จำนวน 219 คน และผู้บังคับบัญชาอีก 201 คน รวมทั้งสิ้น 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่มีในสภาพจริง และที่ต้องการในด้านบุคลิกภาพ ความสามารถในการสอน ทัศนคติต่ออาชีพครู มนุษยสัมพันธ์ และแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานที่ที่พัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิต การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าที-เทสต์ (t-test) ค่าเอฟ-เทสต์ (F-test) และทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffé’s Method) ผลการวิจัย 1. การเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างบัณฑิตกับผู้บังคับบัญชา เกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติงานที่บัณฑิตมี พบว่า บัณฑิตกับผู้บังคับบัญชามีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติงานด้านบุคลิกภาพ ความสามารถในการสอน ทัศนคติต่ออาชีพครู และมนุษยสัมพันธ์โดยที่บัณฑิตประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของตนเองสูงกว่าผู้บังคับบัญชา 2. ความสามารถในการปฏิบัติงานที่ต้องการในความคิดเห็นของบัณฑิตและผู้บังคับบัญชาพบว่า ทั้งบัณฑิตและผู้บังคับบัญชามีความต้องการความสามารถในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทุก ๆ ด้าน 3. ผู้บังคับบัญชามีความเห็นว่า บัณฑิตมีประสบการณ์การเป็นครูก่อนเข้าวิทยาลัยครู มีความสามารถในการปฏิบัติงานสูงกว่าบัณฑิตผู้ไม่มีประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญในทุก ๆ ด้าน 4. ความสามารถในการปฏิบัติงานในทุก ๆ ด้านของบัณฑิตในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่าบัณฑิตในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 5. สถานที่ที่พัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงาน บัณฑิตส่วนใหญ่เห็นว่า โรงเรียนที่ปฏิบัติงานจะเป็นสถานที่ที่พัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานในทุก ๆ ด้านของบัณฑิต ข้อเสนอแนะ 1. วิทยาลัยครูควรปรับปรุงหลักสูตรวิชาชีพครู โดยเน้นภาคปฏิบัติในโรงเรียนให้มากที่สุด ตั้งแต่นักศึกษาเริ่มเข้าศึกษาจนสำเร็จการศึกษา เพื่อโรงเรียนจะได้ช่วยพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงาน นอกจากนั้นกิจกรรมนักศึกษาควรจัดชมรมประสบการณ์วิชาชีพครูให้นักศึกษาเข้าร่วมเพื่อเป็นการสร้างเสริมทัศนคติต่ออาชีพครู 2. สำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการจัดรูปแบบการติดตามผลให้เป็นระบบยิ่งขึ้น โดยติดตามผลเมื่อบัณฑิตทำงานถึงระยะปีที่ 3 และปีที่ 5

Share

COinS