Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทบาททางการเมืองของนายควง อภัยวงค์ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ถึง 2491

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The political role of Khuang Apaiwongse since the 1932 revolution to 1948

Year (A.D.)

1978

Document Type

Thesis

First Advisor

สุเมธ ตันติเวชกุล

Second Advisor

ชัยอนันต์ สมุทวณิช

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ประวัติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1978.458

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงบทบาททางการเมืองของนายควง อภัยวงศ์ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 ถึง 2491 ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว นายควง อภัยวงศ์ได้มีบทบาททางการเมืองในตำแหน่งทางการเมืองที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีร่วมในคณะรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา และรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งประเภท 1 และประเภท2 ตลอดจนตำแหน่งหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทสำคัญในสมัยรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ และรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หลังจากจอมพลป. พิบูลสงครามได้สิ้นสุดอำนาจทางการเมืองเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2487 นายควง อภัยวงศ์ก็ได้รับการสนับสนุนจากนายปรีดี พนมยงค์ให้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 1 แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปีพ.ศ.2488 นายควง อภัยวงศ์ก็ได้กลายเป็นคู่แข่งทางการเมืองของนายปรีดี พนมยงค์ และในช่วงระยะนี้เองเป็นยุคของผู้นำฝ่ายพลเรือน ซึ่งนายควง อภัยวงศ์ก็ได้มีบทบาททางการเมืองเด่นชัดมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทสำคัญในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านในสมัยรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ และรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อจอมพลป. พิบูลสงครามได้กลับเข้าสู่วงการเมืองอีกครั้งหนึ่งภายหลังรัฐประหาร 2490 นายควง อภัยวงศ์ได้ถูกดึงมาเป็นตัวกลางทำการจัดตั้งรัฐบาลและจากการรัฐประหารนี้เองเป็นผลให้นายปรีดี พนมยงค์ได้ถูกกำจัดอิทธิพลทางการเมืองจนต้องเดินทางลี้ภัยการเมืองออกไปนอกประเทศ ในทัศนะของผู้เขียนนายควง อภัยวงศ์เป็นนักการเมืองผู้หนึ่งซึ่งประสบความสำเร็จในชีวิตทางการเมืองตามรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอาจพิจารณาได้จากหลังปีพ.ศ.2489 เป็นต้นมานายควง อภัยวงศ์จะได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครทุกครั้งโดยมีคะแนนเสียงสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้สมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดพระนครด้วยกัน จนกระทั่งถึงพ.ศ.2501ซึ่งทางการให้ยกเลิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกภาพแห่งสภาผู้แทนราษฎร จึงอาจกล่าวได้ว่านายควง อภัยวงศ์เป็นผู้ก่อการหรือเป็นสมาชิกคณะราษฎรเพียงคนเดียวที่มีบทบาททางการเมืองโดยประชาชนเป็นฐานอำนาจ

Share

COinS