Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้เรื่องแต่งเพื่อประโยชน์ในการสั่งสอนในนิทานของวอลแตร์

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

La fiction au service du didactisme dans les contes de Voltaire

Year (A.D.)

1978

Document Type

Thesis

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

DOI

10.58837/CHULA.THE.1978.201

Abstract

“โลกเก่าสิ้นสุดลงพร้อมกับวอลแตร์ โลกใหม่เกิดขึ้นพร้อมกับรุสโซ" คำกล่าวของเกอเต้นี้ได้นิยามหัวเลี้ยวหัวต่อของวรรณคดีในศตวรรษที่ 18 ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม วอลแตร์มิได้เป็นแต่เพียงนักประพันธ์กลุ่มคลาสสิคที่เคารพกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัดเท่านั้น ทว่า เขายังเป็นนักปฏิวัติในแง่ของความคิดเห็นอีกด้วย งานเขียนที่แสดงออกซึ่งความคิดของวอลแตร์ได้ดีที่สุดและล้ำหน้างานเขียนชนิดอื่น ๆ ของเขาคืองานที่เขียนในรูปของ “เรื่องแต่ง" นั้นก็คือ นิทานสั้นๆ แทรกปรัชญา กล่าวได้ว่าโลกทัศน์ชีวทัศน์ของวอลแตร์ได้แสดงออกพร้อมกับวิธีการเขียนที่แหลมคมและมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งในงานเขียนประเภทอื่นของเขาจะหาความพร้อมมูลของสิ่งเหล่านี้ได้ยาก แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ลักษณะเชิงสั่งสอนที่ทำให้เราจัดงานประเภทนี้ของลอลแตร์เข้าอยู่ในประเภท “วรรณคดีคำสอน" การสั่งสอนนี้มิได้แสดออกโดยตรงเราจะรู้สึกได้จากข้อเสนอเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อสิ่งที่ผู้เขียนได้โจมตี รูปแบบง่าย ๆ ของนิทานเปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นด้วยเสรีภาพอย่างเต็มที่ เขาโจมตีทั้งปัจเจกบุคคล และสถาบัน โดยอาศัยการกระทำของตัวละครที่เขาสร้างขึ้นมา และในขณะเดียวกันก็มิได้ลืมแทรกคติเตือนใจไว้ด้วย ด้วยความสละสลวยของประโยคด้วยความแหลมคมของภาษา วอลแตร์จึงเข้าถึงผู้อ่านได้มากกว่ามองเตสกิเออ หรือดิเดอโรต์ เราหวังว่าวิทยานิพนธ์แสนสั้นฉบับนี้ จะช่วยให้เข้าใจความคิดในศตวรรษที่ 18 ดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็เข้าใจแนวคิดของผู้ที่อาจจะถือได้ว่าเป็นตัวแทนของศตวรรษนี้ ผู้ต่อสู้เพื่อนำแสงสว่างมาสู่มนุษยชาติ จนได้รับการขนานนามว่า “ราชาวอลแตร์"

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

“Avec Voltaire, c’est le monde ancient qui finit, avec Rousseau c’est un monde nouveau qui commence." Cette Remarque fameuse de Goethe definit bien le point d’ inter-section de deux courants litteraires au XVIIIe siecle.Cependant, Voltaire ne represente pas seulement l’ecrivain classique qui se borne aux regles rigoureuses, il apparait en meme temps comme un revolutionnaire par ses idees. Les œuvres qui exposent le mieux la pensee voltairienne, et qui depassent d’autres œuvres du meme auteur, sont ecrites sous forme de fiction : ce sot les contes philosophiques, Les speculations de Voltaire a l’egard du monde et de la vie y sont presentees dans un style si brillant et si caracteristique qu’on ne peut retrouver une telle perfection dans ses autres ouvrages. Mais le plus important c’est le trait didactique qui nous permet de grouper de telles oeuvres de voltaire dans la categorie de la litterature “qui enseigne". Ce didactismene se decele pas directement; il nous est devoile sous l’apparence de propositions constructives qui sont autant de reformes aux abus combattusparl’auteur. La souplesse de la forme des contes donne au philosophe l’occasion des’ exprimer en toute liberte, il envoieses coups de griffes aux individusou aux institutions par l’ intermediaire des actions de personages imaginaires mais en meme temps il n’oublie pas d’y inserer un enseignement positif. Par la nettete de sa phrase, par le mordant de sa langue, il atteint un public plus large que Montesquieu ou Diderot. Grace a cette courte recherche, nous esperons faire mieux comprendre l’espritphilosophique du XVIIIe siecle, ou au moins celui de son representant qui combattit au profit de l’homme pour lui chercher des lumieres et qui fut nomme a juste titre “le Roi Voltaire".

Share

COinS