Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารของโรงเรียนพยาบาล ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Opinions concerning administrative behavior in schools of nursing in the state universities
Year (A.D.)
1976
Document Type
Thesis
First Advisor
นพรัตน์ ผลาพิบูลย์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
พยาบาลศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1976.321
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบรรยากาศของโรงเรียนพยาบาล และเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์พยาบาลต่อพฤติกรรมทางการบริหารของโรงเรียนพยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิยาลัยของรัฐ วิธีการดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คืออาจารย์พยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวน 5 สถาบัน มีอาจารย์ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน 242 คน ได้รับแบบสอบถามคือมา 190 ชุด คิดเป็นร้อยละ 78.51 เป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ทั้งหมด 185 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามออแกไนเซชั่นนัลไคลเมท เดสครฟชั่น เควสชั่นแนร์ (Organizational Climate Description Questionnaire, OCDQ) ซึ่งแปลจากต้นฉบับของ ฮัลปิน และครอฟท์ (Halpin and Croft) การวิเคราะห์ข้อมูล ได้ใช้วิธีสถิติคำนวณเป็นร้อยละ หาค่าเฉลี่ย, หาคะแนนมาตรฐานวิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าสถิติ ตามลำดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ความเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ปรากฏว่าได้ค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.968 แสดงว่าเครื่องมือนี้มีความเชื่อถือได้สูงมาก 2. บรรยากาศในการทำงานของอาจารย์ในโรงเรียนพยาบาล สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นแบบอิสระ, แบบควบคุมตรวจตรากับแบบบิดากับบุตร, แบบเปิดโอกาส และแบบอิสระกับควบคุมตรวจตรา 3. ความคิดเห็นของอาจารย์พยาบาลระดับต่ำกว่ปริญญาตรี, ปริญญาตรี และระดับสูงกว่าปริญญาตรี ต่อพฤติกรรมทางการบริหารของโรงเรียนพยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งไม่สนองสมมติฐานของการวิจัยที่ว่า ความคิดเห็นของอาจารย์พยาบาลระดับต่ำกว่าปริญญาตรี, ปริญญาตรี และระดับสูงกว่าปริญญาตรี ต่อพฤติกรรมทางการบริหาร ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐแตกต่างกัน 4. ความคิดเห็นของอาจารย์พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 1 ถึง 5 ปี กับ 6 ปีขึ้นไป ต่อพฤติกรรมทางการบริหารของโรงเรียนพยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสนองสมมติฐานของการวิจัยที่ว่าความคิดเห็นของอาจารย์พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 1 ถึง 5 ปี กับ 6 ปีขึ้นไป ต่อพฤติกรรมทางการบริหารของโรงเรียนพยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐแตกต่างกัน 5. ความคิดเห็นของอาจารย์พยาบาลในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต่อพฤติกรรมทางการบริหารของโรงเรียนพยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ซึ่งสนองสมมติฐานของการวิจัยที่ว่าความคิดเห็นของอาจารย์พยาบาลในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคต่อพฤติกรรมทางการบริหารของโรงเรียนพยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐแตกต่างกัน 6. ความคิดเห็นของอาจารย์พยาบาลในคณะพยาบาลศาสตร์ และโรงเรียนพยาบาลต่อพฤติกรรมทางการบริหารในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งไม่สนองสมมติฐานของการวิจัยที่ว่า ความคิดเห็นของอาจารย์พยาบาลในคณะพยาบาลศาสตร์และโรงเรียนพยาบาลต่อพฤติกรรมทางการบริหารในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐแตกต่างกัน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The Purposes of the study The purposes of the study were to study the organizational climate and to compare the perceptions of respondents with regard to administrative behavior in schools of nursing in the state universities. Methods and Procedures The data-gathering instrument was comprised of a questionnaire devided into subtests with a total of sixty four items. It had been adapted from the OCDQ (Organizational Climate Description Questionnaire) of Halpin and Croft. The 242 questionnaires had been sent out for the selected samples drawn from 5 schools of nursing in the state universities to fill up the questionnaire. There were only 190 returned questionnaire (or 78.52 percent) and 185 questionnaires were completed. The obtained data were then tallied, tabulated and analyzed by using percentage, mean, standard deviation, normalized T-score and analysis of varience. Major Findings The findings of this study are as follows : 1. The reliability of the instrument was considerably very high (reliability = 0.968) 2. The organizational climate of all participating instructors in schools of nursing in the state universities tended to be autonomous, controlled with paternal, open and controlled with autonomous climate. The hypotheses were retained. 3. There was not statistically significant difference in administrative behavior between diploma, degree instructors and master degree, doctoral instructors at .01 level. The hypothesis was rejected. 4. There was statistically significant difference in administrative behavior between 1 to 5 years of experience and more than 6 years of experience instructors at .01 level. The hypothesis was retained. 5. There was statistically significant difference in administrative behavior between central and regional universities at .01 level. The hypothesis was retained. 6. There was not statistically significant difference in administrative behavior between faculty of nursing and school of nursing at .01 level. The hypothesis was rejected.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เดชะ, สมบัติ, "ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารของโรงเรียนพยาบาล ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ" (1976). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 16167.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/16167