Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ความสัมพันธ์ระหว่างกริยาร่วมทางวาจา กับการเรียนรู้ทักษะเชิงซ้อนของขบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The relationship between verbal interaction and complex science process skills learning at the certificate of education level
Year (A.D.)
1975
Document Type
Thesis
First Advisor
ธีระชัย ปูรณโชติ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
มัธยมศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1975.251
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์แบบของกริยาร่วมทางวาจา ระหว่างครูและนักเรียนที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ทักษะเชิงซ้อนของขบวนการวิทยาศาสตร์ โดยทดลองกับนักศึกษาวิทยาลัยครูธนบุรี ชั้นปีที่ 1 ระดับประกาศนียบัตรการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์กริยาร่วมทางวาจาระหว่างครูและนักเรียนของฟลานเดอร์ส เทปบันทึกเสียง และแบบสอบทักษะเชิงซ้อนของขบวนการวิทยาศาสตร์ วิธีวิจัยกระทำโดยทดสอบก่อนการเรียนด้วยแบบสอบทักษะเชิงซ้อนของขบวนการวิทยาศาสตร์ แล้วจึงสอนบทเรียนฝึกทักษะขบวนการวิทยาศาสตร์แก่กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ที่สอนโดยใช้อัตราส่วนระหว่างการใช้อิทธิพลทางอ้อมต่ออิทธิพลทางตรงต่างกัน บันทึกเทปไว้ทุกครั้งที่ทำการสอน แล้วทดสอบหลังการสอนด้วยแบบสอบฉบับเดิม นำคะแนนจากแบบสอบทั้งสองครั้งมาวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และทดสอบค่าที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนทักษะเชิงซ้อนของขบวนการวิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่ม และระหว่างเพศตามลำดับ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ได้รับการสนอโดยใช้อัตราส่วนระหว่างการใช้อิทธิพลทางอ้อมต่ออิทธิพลทางตรงในระดับต่ำ และระดับปานกลาง ทำคะแนนได้สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้อัตราส่วนระหว่างอิทธิพลทางอ้อมต่ออิทธิพลทางตรงในระดับสูง กลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้อัตราส่วนระหว่างการใช้อิทธิพลทางอ้อมต่ออิทธิพลทางตรงในระดับต่ำและปานกลางมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เพศชายและเพศหญิงของแต่ละกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะขบวนการวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this study was to study the effect of verbal interaction upon complex science process skills learning. The subjects were students of Dhonburi Teachers’ College at the Certificate of Education Level, divided alphabetically by the College into three groups. The research instruments were Flanders’ Interaction Analysis Techniques, a tape recorder and the test of complex science process skills. The test was administered before and after teaching complex science process skills lessons. Each of the sampling group was taught at a different rate of I/D ratio. A tape recorder was used to record the researcher’s verbal interaction in teaching. The data were analyzed by using Analysis of Covariance and t-test at the .01 level of significance. Research findings were as follows: 1. The groups taught by low and medium I/D ratio gained higher achievement scores on the test than the high I/D ratio group. 2.There were no significant differences in complex science process skills achievement between the group taught by low and medium I/D ratio. 3. There were no significant differences in complex science process skills achievement between males and females within the respective groups.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พิตรากูล, สุมาลี, "ความสัมพันธ์ระหว่างกริยาร่วมทางวาจา กับการเรียนรู้ทักษะเชิงซ้อนของขบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา" (1975). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 15792.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/15792