Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การวิเคราะห์ตำราภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
An analysis of Thai classical textbooks of Praya Sri Sunthonwohan (Noi Acharayangkun)
Year (A.D.)
1975
Document Type
Thesis
First Advisor
กาญจนา นาคสกุล
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
มัธยมศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1975.250
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบตำราภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) 6 เล่ม คือ มูลบทบรรพกิจ วาหนิตินิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์ กับตำราภาษาไทยที่ใช้กันมาก่อนหน้าตำราชุดนี้ 5 เล่ม ได้แก่ จินดามณี เล่ม 1 จินดามณี เล่ม 2 ประถม ก กา ประถมมาลา และ อักษรนิติ ในด้านเนื้อหา การเรียบเรียง และแนวการสอน นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์เนื้อหาตำราภาษไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ตามแนวภาษาศาสตร์อีกด้วย ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า เนื้อหาส่วนใหญ่ในตำราภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นเนื้อหาที่ท่านได้ดัดแปลงแก้ไขและเพิ่มเติมจากตำราภาษาไทยชุดก่อน 3 เล่ม คือ ประถม ก กา อักษรนิติ และจินดามณี เล่ม 1 และพระยาศรีสุนทรโวหารได้นำเนื้อหาดังกล่าวมาเรียบเรียงขึ้นอย่างมีระเบียบ ส่วนแนวการสอนนั้นท่านได้วางจุดมุ่งหมายไว้อย่างเด่นชัด คือมุ่งฝึกฝนทักษะการอ่านการเขียนเรื่องทั้งหมดที่นำมาสอนอย่างแท้จริง ผลจากการวิเคราะห์เนื้อหาตำราภาษาไทยชุดนี้ตามแนวภาษาศาสตร์สรุปได้ว่า ลำดับขั้นตอนการสอนบางอย่างยังไม่ถูกต้องตามหลักสัทศาสตร์ เพราะผู้แต่งพิจารณาเรื่องตัวสะกอการันต์เป็นสำคัญ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research is to compare six textbooks of Praya Sri Sunthonwohan (Noi Acharayangkun) which are Mulabotbanpakit, Wahanitnikon, Aksonproyok, Sangyokphitan, Waipotpichan and Phisan – Karan to five previously used textbooks : i.e. Chindamani Book I, Chindamani Book II, Prathomkoka, Prathommala and Aksonnitti, as regards to the content, the order of presentation of content and the instructional plan ; the second part of research is to analize linguistically those textbooks of Praya Sri Sunthonwohan (Noi Acharayangkun). The result of research reveals that Praya Sri Sunthonwohan (Noi Acharayangkun) conceived his textbooks and systematically adapted from Prathomkoka, Aksonnitti and Chindamani Book I. He had clear and exact instructional plan to emphasize on developing skills in reading and writing. The linguistic analysis shows that the sequence of some lesson – plans does not quite conform to linguistic principles owing to his concentration primarily on writing and spelling.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
คู่ทวีกูล, สมเกียรติ, "การวิเคราะห์ตำราภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)" (1975). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 15791.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/15791