Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หน้าที่ของคำ "ให้" ในภาษาไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Grammatical functions of the word "Haj" in Thai language

Year (A.D.)

1970

Document Type

Thesis

First Advisor

วิจินตร์ ภาณุพงศ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ภาษาไทย

DOI

10.58837/CHULA.THE.1970.141

Abstract

การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาว่าคำให้ในภาษาไทยมีอยู่กี่คำและทำหน้าที่อะไรบ้าง การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้ดำเนินตามแนววิชาภาษาศาสตร์ คือ พิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่ของคำในประโยคเป็นหลัก ข้อมูลที่นำมาศึกษาได้มาจากผู้วิจัยเองเป็นส่วนใหญ่ และจากการสนทนากับคนอื่น ๆ ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า, มีคำให้อยู่ทั้งหมด 5 คำ และแต่ละคำจะทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้คือ (1) คำให้ที่เป็นคำกริยาทวิกรรม ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยกริยาทวิกรรม (2) คำให้ที่เป็นคำบุพบท ซึ่งอาจจะทำหน้าที่ขึ้นต้นส่วนขยายในหน่วยกริยาหรือขึ้นต้นหน่วยกรรมรองก็ได้ (3) คำให้ที่เป็นคำกริยาสกรมเหตุกัต ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยกริยาสกรรมเหตุกัต (4) คำให้ที่เป็นคำเชื่อมอนุพากย์ ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นคำเชื่อมตนของอนุพากย์นามหรืออนุพากย์วิเศษณ์ก็ได้ และ (5) คำให้ที่เป็นคำหลังกริยา ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยแก่นในจำนวนคำให้ทั้ง 5 คำ นี้ มีอยู่ 4 คำ คือ คำให้ที่เป็นคำบุพบท ที่เป็นคำกริยาสกรรมเหตุกัต ที่เป็นคำเชื่อมอนุพากย์ และที่เป็นคำหลังกริยา ซึ่งมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกับคำอื่น ๆ ในหมวดคำเดียวกันทีเดียว มีแต่คำให้ที่เป็นคำกริยาทวิกรรมเท่านั้นที่ไม่มีลักษณะเฉพาะ ผลของการวิจัยได้เสนอเป็น 7 บท คือ บทที่ 1 กล่าวถึงจุดมุ่งหมายและขอบเขตของการวิจัยตลอดจนงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง บทที่ 2 ถึง บทที่ 6 รวม 5 บท กล่าวถึงคำให้บทละคำ และบทที่ 7 เป็นบทสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ กล่าวถึงสรุปผลของการวิจัยและเสนอแนะให้ผู้สนใจศึกษาภาษาไทยศึกษาให้ละเอียดว่าคำให้แต่ละคำใช้ในความหมายอะไรได้บ้าง.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this thesis is to make a formal linguistic study of the forms and functions of the word “/haj/" in the Thai language. The study is based on a careful examination of the various syntactical positions of the word, the data being drawn largely from the writer’s own use of the language, as well as from conversations among the writer’s acquaintances. The results of this study indicate that there are altogether 5 syntactically distinct but orthographically and phonemically identical forms of “/haj/" | each having its own separate function of functions. The five forms are (1) /haj/, classified as a double transitive verb functioning as a Double Transitive Verbum (i.e. a verbal sentence constituent); (2) /haj/, classified as a preposition used to introduce the Modifier (i.e. a verb phrase constituent) or to introduce the Indirect Object (i.e. a nominal sentence constituent); (3) /haj/, classified as a causative transitive Verbum (i.e. a verbal sentence constituent); (4) /haj), classified as a clause linker which may introduce a noun clause or an adjective clause; (5) /haj/, classified as a post-verb functioning as part of the Nucleus (i.e. a verb phrase constituent). Out of the 5 forms of “haj", four (the preposition, the causative transitive verb, the clause linker and the post-verb) have their own specific characteristics which are quite different from other words of the same classes. It is suggested that those who are interested in carrying on further research on the Thai language should make a detailed study of the meanings of each form of “haj"

Share

COinS