Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ในระดับฝึกหัดครู
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Library training of agencies under the supervision of the teacher training department, ministry of education
Year (A.D.)
1965
Document Type
Thesis
First Advisor
รัญจวน อินทรกำแหง
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1965.19
Abstract
กรมการฝึกหัดครูจัดให้มีการสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ขึ้นครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2500 ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ใช้ชื่อว่า Know Your Library ต่อมาในปีการศึกษา 2508 ได้ขยายการสอนขึ้นในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป. กศ. ชั้นสูง) ใช้ชื่อวิชาว่า “การจัดและใช้ห้องสมุดเป็นวิชาเลือกเสรี ไม่ใช่วิชาบังคับ และได้จัดเป็นวิชาบังคับในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป. กค.) ในปีการศึกษา 2508 ใช้ชื่อวิชาว่า “บรรณารักษศาสตร์" นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีในหลักสูตรการอบรมเพื่อการศึกษาในระหว่างปิดภาคเรียนฤดูร้อน (อ.ศ.ร.) วิชาชุด ป. คศ. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และวิชาชุดประโยคครูมัธยม (ป.ม.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ส่วนการสอนวิชาชุด ป. คศ. วิชานี้เริ่มเมื่อปีการศึกษา 2506 ในปีการศึกษา 2508 ได้ขยายการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์นี้ขึ้นในหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาเฉพาะ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ต่อจากขั้นปริญญาตรี หลักสูตร 1 ปี ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร และจะขยายถึงขั้นปริญญาโททางการศึกษา สาขาบรรณารักษศาสตร์ หลักสูตร 2 ปี ขึ้นในปีการศึกษา 2509 ณ สถาบันการศึกษาแห่งนี้อีกด้วย สรุปแล้วจะเห็นได้ว่าการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ในระดับฝึกหัดครูในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มในระยะ 10 ปีนี้เอง และเป็นการช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนบรรณารักษ์โรงเรียนได้มาก จากการสำรวจในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ ปรากฏว่า ถ้าได้มีการปรับปรุงแก้ไขการสอนและการศึกษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้นแล้ว จะเป็นการพัฒนาการศึกษาวิชานี้ให้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขได้แก่อาจารย์ผู้สอน ควรเป็นผู้มีวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์และจัดให้มีจำนวนเพียงพอ หลักสูตรควรจัดให้เหมาะสมกับความต้องการและสมดุลกับเวลา และควรให้โอกาสนักศึกษาได้มีเวลาฝึกหัดการใช้ห้องสมุดและฝึกงานภาคปฏิบัติด้วย ควรมีสถานที่โดยเฉพาะสำหรับใช้สอนวิชานี้ และควรเตรียมอุปกรณ์การสอนให้พร้อมทั้งเครื่องใช้และตำราประกอบการเรียนการสอน เป็นต้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มิลินทะเลข, ไข่มุกด์, "การศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ในระดับฝึกหัดครู" (1965). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 14286.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/14286