Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
แนวทางการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Guidelines for the development of areas under the express ways in Bangkok
Year (A.D.)
2003
Document Type
Thesis
First Advisor
ขวัญสรวง อติโพธิ
Faculty/College
Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)
Degree Name
การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การวางผังเมือง
DOI
10.58837/CHULA.THE.2003.1656
Abstract
ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์พื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย พาณิชยกรรมและระบบคมนาคมขนส่ง ในขณะที่พื้นที่สีเขียวและพื้นที่ว่างต่างๆ กำลังลดน้อยลงเรื่อยๆ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรและการเติบโตของกรุงเทพมหานคร นำไปสู่ปัญหาการจราจรติดขัด ทางด่วนจึงเป็นทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น และรองรับปริมาณการจราจรในอนาคต ในขณะที่การพัฒนาได้อำนวยประโยชน์ให้กับคนเดินทางบนถนน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การเวนคืนที่ดิน และพื้นที่ว่างใต้ทางด่วนตามโครงข่ายที่พาดผ่านเข้าไปในพื้นที่เมืองต่างๆ บางแห่งถูกจับจองและเข้ามายึดใช้เพื่อประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่ได้รับอนุญาตและไม้ได้รับอนุญาต การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินสภาพการใช้ประโยชน์ต่างๆ ของพื้นที่ใต้ทางด่วนในปัจจุบัน ประกอบกับศึกษาศักยภาพและข้อจำกัดของการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน ที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่เมืองประเภทต่างๆ ที่ทางด่วนผ่าน เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาที่น่าจะเป็นไปได้ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ใต้ทางด่วนแบ่งได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ แยกต่างระดับ ถนนขนาบทางด่วน ทางด่วนคร่อมถนน ทางด่วนระดับดิน ทางด่วนคร่อมแม่น้ำ คลองหรือบึง และจุดขึ้น-ลงทางด่วน โดยรูปแบบพื้นที่ใต้ทางด่วนเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่ ตลาด/แผงลอย สนามกีฬา/สนามเด็กเล่น สวนหย่อม/สวนสาธารณะ ที่จอดรถ ถนน/ซอย พื้นที่ให้เช่า ทางเดินเท้า/ทางรถจักรยาน และ พื้นที่ที่ถูกละเลย ซึ่งการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน ต้องคำนึงถึงสภาพที่ตั้งที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบ มีการเข้าถึงที่ดีและมีขนาดที่พอเหมาะกับกิจกรรม อีกทั้งร่มเงาก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ประโยชน์ในตอนกลางวัน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความผูกพันและความรู้สึกเป็นเจ้าของต่อพื้นที่ของคนในชุมชน ซึ่งจะส่งผลทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการใช้และได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ แนวทางการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน จะช่วยลดปัญหาอันเกิดจากการยึดครองใช้พื้นที่ว่างของเมือง อย่างไม่เหมาะสมให้น้อยลง เป็นการนำเสนอพื้นที่ว่างรูปแบบใหม่ๆ ให้กับชีวิตคนเมือง และสร้างบรรยากาศของเมืองให้มีความสวยงาม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
While almost area in Bangkok tend to use for residential area commercial, and transportation system, green area and open space are being held down continuously. In addition, rapid population growth and urban growth lead into the traffic problem. The express way is the effective solution that people and government choose to deal with the problem. It could support the increased traffic volume in the future. Although, urban development earning much benefits for peoples, the expropiated and area utilizing problems were occurred. The areas under the express way has been legally and illegally for various purposes. Therefore, this paper was created for study and evaluate the utilising of those areas. It's also looked at the potential and limitation of area devlopment which is relate with land use of surrounding. Then the development guidelines is created for this problem. The result shown that the under express way area can be categorized into 6 groups that are interchange, the express way that pressed by both side roads, road crossed express way, river crossed express way, and express way checkpoint are related with the form of utilizing that can be categorized into 8 groups as: market, play lot/sport ground, park, car park, road/alley, land for rent, resident park way/bicycle lane, and underutilized space. Moreover, the area developing should consider about relation between location and surrounded utilizing, accessibility, and suitable size for the activities. Furthermore, the shade of the elevated is the one aspect that should be considered on day using. In addition, the ownership and kinship of the dweller is the one factor to lead into sustainable development. Then the proposed development guidelines is also solve the uncontrolled occupy problem and propose the application for the next generation which is make more nice urban area.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ประเสริฐ, ปาจรีย์, "แนวทางการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วนในเขตกรุงเทพมหานคร" (2003). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13840.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13840