Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การประเมินที่อยู่อาศัยก่อสร้างระบบกึ่งสำเร็จรูป โครงสร้างเสา-คานเหล็ก ผนังคอนกรีตมวลเบา : กรณีศึกษา บ้านมณีแก้ว จังหวัดชลปุรี
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
An evaluation on housing semi pre-fabrication construction system, steel skeleton structure infilled with aerated concrete block : a case study of Baan Maneekaew, Chon Buri
Year (A.D.)
2002
Document Type
Thesis
First Advisor
ชวลิต นิตยะ
Second Advisor
ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Faculty/College
Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)
Degree Name
เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เคหการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2002.1687
Abstract
ประเมินการก่อสร้างระบบกึ่งสำเร็จรูปโครงสร้างเสาคานเหล็ก ผนังคอนกรีตมวลเบา โดยศึกษาในเรื่องกรรมวิธี ราคา ระยะเวลา ปัญหาที่เกิดขึ้นในการก่อสร้าง และปัจจัยในการเลือกระบบมาก่อสร้างของผู้ประกอบการ กรณีศึกษาเป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรร ประเภทบ้านเดี่ยว 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 135 ตารางเมตร (โครงการบ้านมณีแก้ว จังหวัดชลบุรี) โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการก่อสร้างระบบเดิม ที่มีการก่อสร้างอยู่ในโครงการเดียวกัน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีจดบันทึก สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้รับเหมาและผู้อยู่อาศัย ศึกษาจากตารางบันทึกค่าก่อสร้างของโครงการ และภาพถ่ายลำดับขั้นในการก่อสร้าง ผลการศึกษาพบว่า การก่อสร้างอาคารบ้านพักอาศัยระบบกึ่งสำเร็จรูปโครงสร้างเสาคานเหล็ก ผนังคอนกรีตมวลเบา มีขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง แตกต่างจากการก่อสร้างในระบบเดิม ในส่วนงานโครงสร้างเสา-คานและงานผนังอาคาร ปัญหาที่พบในการก่อสร้างได้แก่ ช่างเชื่อมที่มีฝีมือที่ใช้ในการเชื่อมรอยต่อโครงสร้างอาคารหายาก การเสียเศษเหล็กรูปพรรณทำให้มีการใช้งานไม่ตรงตามปริมาณที่กำหนด ปัญหารอยต่อระหว่างผนังคอนกรีตมวลเบากับเสาคานเหล็กโครงสร้างอาคาร และปัญหาการจัดการด้านวัสดุผนังคอนกรีตมวลเบาที่ไม่ตรงกับความต้องการ สำหรับค่าก่อสร้างบ้านพักอาศัย 2 ชั้น ระบบโครงสร้างเสาคานเหล็กผนังคอนกรีตมวลเบา มีราคาค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 588,117.45 บาท ไม่รวมค่าดำเนินการ และราคาต่อตารางเมตร เท่ากับ 4,356.53 บาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และระยะเวลาในการก่อสร้างอาคาร 90 วัน (3 เดือน) จากการวิเคราะห์ผลสรุปได้ว่า การก่อสร้างระบบกึ่งสำเร็จรูป โครงสร้างเสาคานเหล็กผนังคอนกรีตมวลเบา ช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้างลงในส่วนงานโครงสร้าง รวมถึงงานต่อเนื่องในส่วนอื่นเช่น งานโครงสร้างพื้น งานก่อผนัง กรรมวิธีในการก่อสร้างเป็นเทคนิคการเชื่อมโลหะ ที่ช่างเชื่อมและช่างเหล็กในปัจจุบันมีความสามารถทำงานได้ ในเรื่องของแรงงานสามารถลดจำนวนแรงงานในหมวดงานโครงสร้างได้เช่นเดียวกัน ราคาค่าก่อสร้างอาคารในเบื้องต้นจะสูงกว่าระบบเดิม 14.92% แต่การก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างเสาคานเหล็กผนังคอนกรีตมวลเบา ช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้างให้สั้นลงกว่า การก่อสร้างระบบเดิมถึง 33% (คิดเป็นระยะเวลาเร็วกว่า 1 เดือนครึ่ง) ดังนั้นสรุปผลการวิจัยได้ว่า โครงการที่มีความต้องการลดระยะเวลาในการก่อสร้าง สามารถนำระบบการก่อสร้างนี้มาก่อสร้างได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการเลือกใช้ระบบการก่อสร้างนี้มาก่อสร้าง กรรมวิธีในการก่อสร้างสามารถใช้ช่างเชื่อมที่มีทักษะฝีมือสามารถทำให้งานมีคุณภาพ รวมถึงทักษะของช่างในหมวดผนัง การทำรอยต่อ และพื้นผิว โดยที่จะต้องมีการจัดทำแบบรายละเอียดให้ชัดเจน เพื่อนำมาก่อสร้างได้ตรงตามมาตรฐาน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To compare a house built using a semi pre-fabrication construction system which use steel skeleton structure infilled with aerated concrete block verses a house built using a traditional system. Both houses were two-storey detached houses with a functional area of 135 square meter in Baan Maneekaew Project, Chonburi. Both were compared in terms of method, cost, duration, problems arising during construction and factors influencing the real estate owners choice of the semi pre-fabrication system. The methods used were recording, interviewing the entrepreneur, the contractor and the residents, the records of the construction costs and taking photographs of each construction phase. It was found that the two systems were different and skilled welders were difficult to locate. As a result, small pieces of pre-fabricated steel were left as waste and the welding that joined the aerated concrete with steel skeleton structure was not smooth. Besides, the provision of aerated concrete block was not sufficient to meet the requirement. To build a two-story detached house with steel skeleton structure infilled with aerated concrete block, the total construction cost was 588,117.45 baht. This amount did not included operational cost. The cost per square meter was 4,356.53 baht, not including VAT. The construction duration was 90 days (3 months). It can be concluded that the semi pre-fabrication construction system can reduce the construction time for the structure and walls by 33% (one month and a half faster than the traditional system) and also reducing the number of workers. Its initial cost was 14.92% higher than that of the traditional system. This system can satisfy a real estate project owner who wishes to shorten the construction period and skilled welders can perform high-quality work according to detailed description of the work. This will lead to standardized construction.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อึ่งกูล, โยธิน, "การประเมินที่อยู่อาศัยก่อสร้างระบบกึ่งสำเร็จรูป โครงสร้างเสา-คานเหล็ก ผนังคอนกรีตมวลเบา : กรณีศึกษา บ้านมณีแก้ว จังหวัดชลปุรี" (2002). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13704.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13704