Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Strategy Development of Lifelong Education to Enhance Civic Science Literacy for Thai Youth

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

อาชัญญา รัตนอุบล

Second Advisor

พิชัย สนแจ้ง

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Lifelong Education (ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

การศึกษานอกระบบโรงเรียน

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.1544

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สร้างภาพอนาคตของการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนไทย 2) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ของเยาวชนไทย ในช่วงระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า คือระหว่างปี พศ. 2565-2574 โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี ทั้งที่อยู่ในการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ โดยมีขั้นตอนวิจัย 4 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาแนวคิดและรูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ของประเทศต่างๆ 2) การศึกษาสภาพการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านวิทยาศาสตร์ และการรู้วิทยาศาสตร์ (Science Literacy) ของเยาวชนในสังคมไทย 3) การจัดทำภาพอนาคตการพัฒนาการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ (scenario) ด้วยเทคนิควงล้ออนาคต (future wheel) 4)การจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์เพื่อใช้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อใช้ประโยชน์ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ได้ภาพอนาคตที่เป็นไปได้สองภาพประกอบด้วย ภาพที่ 1 “สังคมแสนรู้" วิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ได้แก่ : สังคมที่การจัดการศึกษาและการสร้างองค์ความรู้ใหม่อยู่ในมือของภาคประชาชน หรือชุมชน ซึ่งแรงจูงใจในการเรียนรู้เป็นไปเพื่อการสร้างงาน สร้างอาชีพและเพื่อสรรค์สร้างชุมชนให้เข้มแข็งและเติบโต และมีความสามารถในการเท่าทันสังคมโลก มียุทธศาสตร์ 4 ด้านคือ 1.ส่งเสริมกิจกรรมแบ่งปันความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวตกรรมผ่านพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะและทัศนคติในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ 2.ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาและหาคำตอบด้วยการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3.พัฒนาระบบฐานข้อมูล วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้รายบุคคลให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ในทุกสาระความรู้ 4.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านนโยบายและจริยธรรมวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนเพื่อให้เกิดการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในชีวิตและสังคม ภาพอนาคตที่ 2 คือ “สังคมสูงวัย อุ่นใจไปด้วยกัน" วิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์คือ : สังคมที่ผู้สูงวัยและเยาวชนอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ มีความสุข สามารถดูแลซึ่งกันและกันตามศักยภาพของตน รวมทั้งช่วยกันดูแลตนเองและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเท่าทันและยั่งยืน มียุทธศาสตร์ 4 ด้านได้แก่ 1.การจัดการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยและสังคมยั่งยืน 2.ส่งเสริมบุคลากรสูงวัยให้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพ สู่ชุมชนและเยาวชน 3.ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและอาชีพใหม่โดยเยาวชนและผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมสูงวัยและสังคมยั่งยืน 4.ขยายพื้นที่กิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3 วัย เพื่อสร้างโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมอง สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชน วัยทำงานและผู้สูงวัย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this research are 1) to develop future scenarios of lifelong education to promote civic science literacy for Thai you 2) to develop strategies of lifelong education to enhance civic science literacy of Thai youth for the future years 2022-2031. The study aims at youth aged between 15-24 years old in both formal and non-formal education. The research was divided into 4 steps including 1) study of lifelong education approach to promote science literacy in other countries 2) a survey of current situation of science lifelong learning opportunity and civic literacy of Thai youth 3) a development of future scenarios 4) proposing strategies of lifelong education to enhance civic science literacy. The research found two likely scenarios for future of lifelong education to promote civic science literacy for Thai youth, the first one is “Crowd Knowledge Society" where new knowledge and education platform are created by citizen or community. Education therefore is to equipped youth with knowledge, skill and attitude of knowledge sharing and co-creation. Four proposed strategies are 1. Cultivate science and technology knowledge sharing culture 2. Problem-based education 3. Personalized STE learning Platform 4. Youth engagement in science and policy. The second scenarios is “3G Society" which focus on preparing youth to live happily and use scientific knowledge and thinking skill to contribute to the aging society with understanding and empathy while senior citizen can play apart in the cultivating young minds to grow with awareness of self-care and earth-care for the sustainability of the society. The strategies include 1)Science and Environmental Knowledge Management for aging and sustainable society 2) Wisdom of the legend 3) Promoting innovation and careers by youth and senior before to support aging and sustainable society 4) Promoting 3 generation science and technology spaces.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.