Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Physical Characteristics of Recurrent Fungus Areas in Air-Conditioned Hospital

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

เสริชย์ โชติพานิช

Faculty/College

Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Architecture (ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์)

Degree Name

สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สถาปัตยกรรม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.1276

Abstract

การเกิดเชื้อราจากความชื้นภายในอาคารเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานอาคาร ไม่ควรเกิดขึ้นในอาคารโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานและความต้องการในการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่เข้มงวด งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาถึงพื้นที่ที่เกิดเชื้อราซ้ำภายในอาคารโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของพื้นที่ที่มีเชื้อราเกิดขึ้นซ้ำ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดขึ้นของเชื้อราในพื้นที่ที่เกิดเชื้อรา โดยใช้แนวทางการศึกษาแบบการวิจัยเชิงสำรวจ เลือกศึกษาจากพื้นที่ที่เกิดเชื้อราซ้ำ ถึงลักษณะร่วมกันของแต่ละพื้นที่ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการคาดการณ์เหตุปัจจัยที่มีร่วมกัน โดยศึกษาด้วยวิธีการสังเกตการณ์ บันทึก สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง สืบค้นจากเอกสาร ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ตรวจวัด ทำการวิเคราะห์ สรุป และอภิปรายผล โดยพื้นที่ที่ทำการศึกษา สามารถจำแนกตามประเภทของพื้นที่ ได้เป็น 4 ประเภท คือพื้นที่หอผู้ป่วยใน พื้นที่หอผู้ป่วยวิกฤติ พื้นที่แผนกผู้ป่วยนอก - หน่วยรักษาพิเศษ และพื้นที่แผนกศูนย์ความเป็นเลิศ – ส่วนสนับสนุน จากการศึกษาพบว่า พบบริเวณที่เกิดเชื้อราภายในพื้นที่ 5 บริเวณ ได้แก่ ฝ้าเพดาน ผนัง เฟอร์นิเจอร์ พื้น และช่องแอร์ การเกิดเชื้อราซ้ำบนฝ้าเพดาน พบในพื้นที่ทุกประเภท ในขณะที่การเกิดเชื้อราซ้ำบริเวณช่องแอร์ จะพบได้ในพื้นที่หอผู้ป่วยเท่านั้น การเกิดเชื้อราซ้ำบนผนัง พบได้ในสองประเภทพื้นที่ คือ หอผู้ป่วยวิกฤติและส่วนรักษาพยาบาล และไม่พบการเกิดเชื้อราซ้ำบนเฟอร์นิเจอร์ในพื้นที่หอผู้ป่วยวิกฤติ และหากพิจารณาจากลักษณะตำแหน่งการเกิดรา เชื้อราที่ถูกพบที่ตำแหน่ง AF (ช่องแอร์ + เฟอร์นิเจอร์) และ AFC (ช่องแอร์ + เฟอร์นิเจอร์ + ฝ้าเพดาน) ซึ่งเป็นพื้นที่ห้องพักผู้ป่วยทั้งหมด มีความถี่และระยะเวลาการพบเชื้อราซ้ำชัดเจนทุก 7 วัน และมีอัตราการไหลของอากาศสูงกว่าพื้นที่ที่เกิดเชื้อราที่ตำแหน่งอื่นๆ ในขณะที่เชื้อราที่พบที่ตำแหน่งอื่น คือ F (เฟอร์นิเจอร์) W (ผนัง) C (ฝ้าเพดาน) FL (พื้น) CW (ฝ้าเพดาน + ผนัง) CF (ฝ้าเพดาน + เฟอร์นิเจอร์) WF (ผนัง + เฟอร์นิเจอร์) พบว่ามีอัตราการไหลของอากาศต่ำ รวมถึงไม่มีแบบแผนและระยะเวลาที่แน่นอนในการเกิดเชื้อราซ้ำ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพื้นที่ที่เกิดเชื้อรา กับอุณหภูมิเฉลี่ยและความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยของแต่ละพื้นที่ พบว่าทุกพื้นที่ที่เกิดเชื้อราซ้ำ มีค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในพื้นที่มากกว่า 60 %RH และอยู่นอกเหนือช่วงสภาวะน่าสบาย และมีอุณหภูมิเฉลี่ยภายในพื้นที่สูงกว่าอุณหภูมิจุดน้ำค้างของพื้นที่นั้นๆทั้งหมด ด้านอัตราการไหลของอากาศบริเวณที่เกิดเชื้อรา ทุกตำแหน่งที่เกิดเชื้อรามีอัตราการไหลของอากาศต่ำ ยกเว้นพื้นที่ที่เกิดเชื้อราบนช่องแอร์ และจากการวิเคราะห์คุณสมบัติของวัสดุพื้นผิวที่เกิดเชื้อรา พบว่าเชื้อราเกิดขึ้นในพื้นผิวสองลักษณะคือ พื้นผิวโลหะ และวัสดุพื้นผิวที่มีความสามารถในการกักเก็บความชื้น หากต้องการแก้ปัญหาการเกิดเชื้อราในพื้นที่ภายในอาคารโรงพยาบาล ควรพิจารณาเรื่องการเพิ่มอัตราการไหลของอากาศภายในพื้นที่ การลดความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยภายในพื้นที่ และควรมีรอบการท้าความสะอาดพื้นที่ที่เป็นจุดอับชื้นเป็นประจ้า รวมถึงระมัดระวังการใช้วัสดุพื้นผิวที่มีคุณสมบัติกักเก็บความชื้นได้ดี ทั้งในส่วนประกอบอาคารและส่วนตกแต่งอาคาร

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The occurrence of fungus from dampness in healthcare facilities is harmful to both patients and healthcare staffs. In hospital, a place that has the exact standard and needs in controlling indoor environments, fungus should not be found. This research was an Empirical Research which conducted to examine the physical characteristics of recurrent fungus areas in air-conditioned hospital and causes which related to the occurrence of Fungus in air-conditioned hospital. The study covered on collecting data and pictures, interviewed the authorized staffs in actual areas, including the usage of physical parameters, and hospitals’ documents, to see the pattern and common characteristics of the studied fungus areas in order to find cause and factors that concerned. As a result, there are 4 types of the study areas which are Ward (In Patient Department), ICU (Intensive Care Unit), OPD (Out Patient Department), ADM (Administration). And there are 5 spots where fungus has been noticed which are Furniture, Ceiling, Air Condition Grill, Wall, and Floor. In each type of area, can be found the fungus's characteristics differently, recurrent fungus on the ceilings can be found in every types of area, while recurrent fungus on air-condition grills can be found only in Wards, recurrent fungus on walls can be found in two types of area, Intensive Care Unit and Out Patient Department. However, recurrent fungus on furnitures in Intensive Care Unit has nowhere to be found. The research showed that some characteristics of the studied areas are relevant to types of the area and the functions of the area, including an appearance of the fungus in the area. Temperature, relative humidity, Air flow and surface materials of areas with occurrence of fungus are the factors that relate to the occurrence of fungus in healthcare facilities.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.