Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The Revocation of the Right to be an Electoral Candidate In the Case of Declaration of Assets and Liabilities.
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
มานิตย์ จุมปา
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.441
Abstract
เอกัตศึกษาฉบับนี้ มุ่งศึกษาปัญหาของบทบัญญัติในการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในความผิดเกี่ยวกับการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สิน ทั้งกรณีจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและกรณีจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบการทุจริตพุทธศักราช 2561 มาตรา 81 ประกอบมาตรา 114 โดยศึกษาแนวคิดของสิทธิสมัคร รับเลือกตั้งและหลักการของการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งภายใต้หลักความได้สัดส่วน เจตนารมณ์ของ บทบัญญัติดังกล่าว กฎหมาย คำพิพากษาและคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง โดยการวิเคราะห์เทียบเคียงกับบทบัญญัติการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของต่างประเทศ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติในการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในลักษณะความผิดเกี่ยวกับการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินปรากฏเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยมีเจตนารมณ์เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชันอันเป็นปัญหาสำคัญที่มีอยู่ในสังคมไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานและเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการถือครองของทรัพย์สินและหนี้สินนับตั้งแต่วันที่เข้ามาดำรงตำแหน่งที่ใช้อำนาจรัฐจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งว่ามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นหรือหนี้สินลดลงมากผิดปกติหรือไม่ อย่างไรก็ดี เห็นว่า การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลในลักษณะดังกล่าวมีปัญหาในเชิงหลักการ กล่าวคือ เป็นการกำหนดบทบัญญัติโดยมิได้พิจารณาถึงลักษณะพฤติการณ์และฐานความผิดให้เหมาะสม เนื่องจาก การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาไว้ ซึ่งหากถือตามบทบัญญัติ จึงมีผลเท่ากับเป็นการลิดรอนสิทธิในการเสนอตัวเข้ามาเป็นผู้แทนของประชาชนเพื่อนําอำนาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชนไปบริหารประเทศต่อไป กรณีเช่นนี้ย่อมขัดต่อหลักความได้สัดส่วน การกําหนดให้มีการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไปจึงไม่ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของความผิด โดยจากการศึกษากฎหมาย ต่างประเทศพบว่ามีหลายประเทศที่ไม่ใช้มาตรการทางการเมืองดังกล่าวกับความผิดเกี่ยวกับการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ด้วยเหตุดังกล่าว จึงสมควรให้มีการยกเลิกหรือกำหนดระยะเวลาในการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในความผิดเกี่ยวกับการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งกรณีจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และกรณีจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปริสุทธิ์สุนทร, มนฑิตา, "การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ศึกษากรณีการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13215.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13215