Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The Rights of Parents and Children to Inheritance : A Study of Abandoned Children

Year (A.D.)

2022

Document Type

Independent Study

First Advisor

สิพิม วิวัฒนวัฒนา

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.IS.2022.419

Abstract

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษากฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตรในเรื่องหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูกับสิทธิในการรับมรดกของบิดามารดาที่ไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูบุตร กรณีที่บุตรอยู่ในสถานะเจ้ามรดก เพื่อศึกษาว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีการคุ้มครองบุตรที่ไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเพียงพอแล้วหรือไม่ เนื่องด้วยกฎหมายมิได้บัญญัติผลทางกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งในประเด็นเรื่องสิทธิในการรับมรดกของบิดามารดาที่ไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูบุตร ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ว่าด้วยมรดก เรื่องการเสียสิทธิในการรับมรดกเพราะเหตุถูกกำจัดมิให้รับมรดกก็มิได้บัญญัติคุ้มครองบุตรผู้เป็นเจ้ามรดกในกรณีที่ถูกบิดามารดาทอดทิ้งและไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูไว้โดยเฉพาะซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อตัวบุตรผู้เป็นเจ้ามรดกเมื่อตนถึงแก่ความตาย แต่บิดามารดานั้นกลับมีสิทธิในการรับมรดกของบุตรได้ตามกฎหมายในฐานะทายาทโดยธรรม ในกรณีที่บุตรมิได้ทำพินัยกรรมไว้ จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายครอบครัวและมรดกของสาธารณรัฐเกาหลีและสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่าต่างมีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่ง เรื่องสิทธิในการรับมรดกของบิดามารดาที่ไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูบุตร รวมถึงทายาทที่ละเลยหรือทอดทิ้งเจ้ามรดกไว้เป็นการเฉพาะในการคุ้มครองสิทธิของเจ้ามรดกที่ไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายไทยที่ไม่มีบทบัญญัติในการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่บุตรผู้เป็นเจ้ามรดกที่ถูกบิดามารดาทอดทิ้งแต่อย่างใด ผลของการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยควรมีบทบัญญัติเรื่องการเสียสิทธิในการรับมรดกของทายาทผู้ที่ไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูเจ้ามรดกไว้โดยเฉพาะในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 โดยการกำจัดสิทธิในการรับมรดกของบิดามารดาที่ไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูบุตร ผู้เขียนจึงขอเสนอให้มีการบัญญัติเพิ่มเติมให้การที่ไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูเจ้ามรดกเป็นหนึ่งในเหตุที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606 โดยนำหลักกฎหมายในเรื่องการเสียสิทธิในการรับมรดกของสาธารณรัฐเกาหลีและสาธารณรัฐประชาชนจีนมาเป็นแนวทางปรับใช้ เพื่อคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่บุตรผู้ที่ถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This independent study explores the legal obligations of nurture and inheritance rights by fathers and mothers who neglect their children entitled as heirs. This study examines whether Thailand provides adequate legal protection for children neglected by their fathers and mothers due to the absence of explicit legislation regarding inheritance rights by neglectful fathers and mothers. According to the Civil and Commercial Code of Thailand, Book VI of Succession, provisions about the revocation of inheritance rights due to the exclusion from the succession affirm that juvenile heirs are not subject to protection in cases where parents abandon or neglect them. This often leads to injustice. When juvenile heirs pass away without a will, the neglectful fathers and mothers can assert their inheritance rights as lawful inheritors.

Included in

Law Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.