Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Legal observations with reference to the use of ad-blocking software
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.416
Abstract
เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศุภนิติกระบวนในการพิจารณาข้อพิพาทในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Hearings) ในการอนุญาโตตุลาการเพื่อสร้างแนวปฏิบัติที่มีความชัดเจนและเหมาะสมในการนั่งพิจารณาเสมือนจริงโดยคำนึงถึงหลักความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และความสอดคล้องกับศุภนิติกระบวน (Due process) ในการอนุญาโตตุลาการเป็นสำคัญ จากการศึกษาพบว่าแม้ว่าการนั่งพิจารณาคดีเสมือนจริงก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพ ได้แก่ คู่พิพาท จะได้รับความคุ้มค่า ความสะดวก และความรวดเร็ว เป็นต้น แต่คำชี้ขาดที่ทำขึ้นโดยมีการพิจารณาเสมือนจริงอาจจะมีปัญหาในประเด็นความแตกต่างของเวลาในแต่ละประเทศ ปัญหาข้อจำกัดในการสืบพยานหรือตรวจสอบพยานหลักฐาน ความน่าเชื่อถือของพยานที่อยู่ต่างสถานที่กันและอุปสรรคในการปรึกษาระหว่างทนายความและคู่พิพาทที่อยู่ต่างพื้นที่กัน เป็นต้น และอาจทำให้เกิดความเสียเปรียบในการต่อสู้คดีส่งผลให้กระบวนการอนุญาโตตุลาการไม่สอดคล้องกับ “ศุภนิติกระบวน" ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการอนุญาโตตุลาการอีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเหตุที่ศาลจะนำมาพิจารณาปฏิเสธการยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดตามมาตรา 5 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ 1958 และพบว่าสถาบันอนุญาโตตุลาการต่าง ๆ ในต่างประเทศได้มีการแก้ไขข้อบังคับว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการและจัดทำแนวปฏิบัติว่าด้วยการพิจารณาเสมือนจริงไว้โดยเฉพาะอีกทั้งพิจารณาได้ว่าแนวทางว่าด้วยการพิจารณาข้อพิพาทดังกล่าวที่ใช้ในประเทศไทยยังขาดความชัดเจนและความเหมาะสมสำหรับการนั่งพิจารณาเสมือนจริงที่จะสามารถทำให้กระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามหลักความมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับศุภนิติกระบวน ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงเห็นว่าประเทศไทยควรที่จะมีการพัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับการพิจารณาข้อพิพาทในรูปแบบดังกล่าว โดยผู้เขียนเสนอให้มีการแก้ไขข้อบังคับอนุญาโตตุลาการและเสนอให้มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติการพิจารณาข้อพิพาทในรูปแบบเสมือนจริงในการอนุญาโตตุลาการเพื่อให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงหลักความมีประสิทธิภาพและความสอดคล้องกับศุภนิติกระบวนเป็นสำคัญ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This individual study attempts to investigate legal concerns related to the usage of ad-blocking software from the perspectives of stakeholders in other legal systems, including: 1. Constitutional rights 2. Unfair trading practices and anti-competitive behavior 3. Copyrights and 4. Tort to compare with applications in the Thai legal system.Stakeholder protection measures can be divided into two groups based on foreign legal cases, such as substantive law and case law. First, tend to protect consumers like the United States of America, which has the Communications Decency Act (47 U.S.C. 230), stating immunity for blocking and screening offensive material from civil liability while Federal Republic of Germany, though doesn't have any related substantive law, the Federal Court of Justice has applied the horizontal effect of constitutional rights to private law and weighting between public interests and private interests. As a result, even the court acknowledged that the economic model of an ad-blocking software provider badly impacts online publishers, gives consumer freedom of speech a higher priority, and intensifies competition in the online advertising industry. Additionally, since software doesn't copy and modify a website's source code, its technique doesn't violate copyright. Second, tend to safeguard entrepreneur such as People's Democratic Republic of China even doesn't have any corresponding substantive law as well as the software's business strategy is against business ethics.The author offers the following to clarify the legal status with regard to the use of ad-blocking software in Thailand: 1. Should adhere to the first party's method where the TCCT can issue the notification with requirements for ad-blocking software vendor 2. Clarify that temporarily copying and editing a source code on random-access memory (RAM) does not violate any copyrights.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จวติช, ณัฐปคัลภ์, "ข้อสังเกตทางกฎหมายว่าด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ปิดกั้นโฆษณา" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 13190.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/13190